เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดเกตการาม

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบศึกษาเรื่องศิลปวัฒนธรรม นอกจากแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่รู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกแห่งหนึ่งที่อยากเชิญชวนให้ไปเที่ยวชม คือ พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ถนนเจริญราษฎร์ อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดเกตการาม เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ สร้างในปีพ.ศ.1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ย่านวัดเกต อยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ถือเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันย่านวัดเกตเป็นทั้งย่านที่อยู่อาศัย และย่านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักวัดแห่งนี้ว่า เป็นวัดที่มีพระเกศแก้วจุฬามณี เจดีย์องค์จำลอง ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรับคนเกิดปีจอ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โฮงตุ๊เจ้าหลวง

พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของญาติโยมที่มีจิตศรัทธา เมื่อปีพ.ศ.2542 มีคณะกรรมการวัดเกตการามเป็นผู้ดูแลอาคารของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เคยเป็นกุฏิพระครูชัยศีลวิมล (พ.ศ.2429 ถึง พ.ศ.2500) เรียกกันว่า “โฮงตุ๊เจ้าหลวง”

ก่อนจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการวัดได้ไปดูการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งมาก่อน และเห็นว่าชุมชนวัดเกตการามมีวัตถุทางวัฒนธรรมที่สามารถจัดแสดงได้เช่นกัน จึงจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มิได้ใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบันแล้ว ข้าวของที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นของที่ได้รับบริจาคเพิ่มเติมมาในระหว่างที่มีการก่อตั้ง ผู้บริจาคคนสำคัญคือ คุณจรินทร์ เบน และคุณอนันต์ ฤทธิเดช (เจ้าของเฮือนรัตนา หางดง) มีรูปภาพเมืองเชียงใหม่ในอดีต ถ่ายโดยคุณบุญเสริม สาตราภัย (ภาพที่จัดแสดงเป็นสำเนาภาพ พร้อมคำอธิบายที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยคุณสุรพงษ์ ภักดี) มีนักวิชาการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ เข้ามาช่วยในการทำป้ายอธิบาย

เมื่อเดินเข้าสู่อาคารพิพิธภัณฑ์ ห้องจัดแสดงส่วนแรก เป็นโถงกว้างจัดแสดงหิ้งพระ และพระพุทธรูปศิลปะแบบพม่า เครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องดนตรีล้านนา

จากโถงจัดแสดงด้านนอก เมื่อเดินเข้าไปจะแบ่งห้องจัดแสดงไว้ 3 ห้อง ห้องแรก มีสิ่งของจำนวนมากและหลากหลาย เช่น ผ้า หนังสือเก่า เครื่องแก้ว ถ้วยโถโอชาม พัดลมเพดาน เครื่องปั๊มน้ำ สิ่งของร่วมสมัยอื่นๆ ซึ่งมีอายุไม่เก่ามากนักแต่มิได้ใช้งานแล้ว

ห้องที่สอง จัดแสดงภาพเก่า พระพุทธรูป พระพิมพ์ ตาลปัตร พัดยศของพม่า หนังสือวรรณกรรมเกี่ยวกับล้านนา เทวรูปมีทั้งที่ทำด้วยไม้ หิน และปูน ตุ๊กตาจีน เครื่องชั่งตวงในสมัยก่อน เทป แผ่นเสียงเก่า

ห้องที่สาม เน้นการแสดงสิ่งของที่ทำจากผ้า ได้แก่ ธงต่างๆ ธงมังกร ผ้ากำปี (ผ้าคัมภีร์) เครื่องแต่งกาย มีทั้งที่จัดแสดงไว้ในตู้และขึงบนผนัง

ได้ไปเที่ยวมาแล้ว ขอบอกว่าคุ้มค่าจริงๆ ถ้ามีเวลาก็จะไปอีกอย่างแน่นอน

นิวเคลียร์เชอร์โนบิล โรงไฟฟ้าสยองขวัญ



เคยบ้างไหม บางครั้งที่อยู่คนเดียวแล้วรู้สึกแปลกๆ มีอาการเย็นวาบตามเนื้อตัว หรือขนหัวลุกขึ้นมาเฉยๆ?
เคยบ้างไหม บางครั้งที่เข้าไปบางสถานที่ แล้วมีความรู้สึกเหมือนถูกจ้องมองอยู่ตลอดเวลา
เคยบ้างไหม บางครั้งได้ยินเสียงแปลกๆ แต่พอไปดูแล้วก็ไม่มีอะไร หรือได้ยินเสียงประตูปิดที่ชั้นบน ทั้งที่ไม่มีลมพัด?
เรามักจะได้ยินคนพูดถึงปรากฏการณ์แปลกๆ หลอนๆ อยู่เสมอ บางคนก็เจอกับตัวเองบ่อยครั้ง แต่บางคนก็เหมือนไม่เคยเกิดขึ้นกับเขาเอาเสียเลย ความเชื่อเรื่องวิญญาณนั้นไม่ใช่มีเพียงแต่คนไทย หรือคนเอเชียเท่านั้น แม้แต่ฝรั่งเองก็มีคนที่เชื่ออยู่ไม่น้อย ถ้าลองไปค้นคว้าหาข้อมูลดูจะพบว่า ฝรั่งก็มีคนที่ถูกผีเข้าสิง มีบ้านผีสิง ปราสาทอาถรรพณ์ โรงแรมที่ไม่ควรไปพัก เพราะมักจะมีคนเจอของแถมเป็นประจำและจากการจัดอันดับสถานที่ต้องห้ามที่น่ากลัวที่สุดไว้อย่างเช่น เมืองที่คนขวัญอ่อนไม่ควรไปโดยเด็ดขาดได้แก่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมืองคราโค่

เมืองคราโค่ ประเทศอิตาลี ที่เคยเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งในยุคกลางจนทำให้ชาวเมืองเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก เป็นที่เล่าขานกันว่าที่นั่นจะมีเสียงโหยหวนที่น่ากลัวดังขึ้นเป็นประจำ จนคนต่างถิ่นไม่กล้าเข้าไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมืองออราดูร์ ซูแกลน

เมืองออราดูร์ ซูแกลน ที่ฝรั่งเศส เมืองนี้กลายเป็นเมืองร้างมาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะถูกทหารนาซีบุกเข้าไปเข่นฆ่าชาวบ้านไปมากกว่า 600 ศพ แม้ว่าจะมีการสร้างบ้านเรือนขึ้นมาในบริเวณใกล้เคียงแล้ว แต่บรรยากาศของเมืองเก่ายังคงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความสยองขวัญที่ไม่ควรย่างกรายเข้าไป

เมือง, อนุสาวรีย์, รูปปั้น, พลาซ่า, สถานที่สำคัญ, การท่องเที่ยว

อีกเมืองหนึ่งที่แม้จะเป็นเมืองใหม่ที่เพิ่งจะสร้างมาเมื่อพ.ศ.2513 แต่เพียง 16 ปีหลังจากที่ผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยกัน โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์นามกระฉ่อน เชอร์โนบิล ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตรก็เกิดระเบิดขึ้นจนทำให้มีคนเสียชีวิตไปจำนวนหนึ่ง แต่ปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่อันตรายสุดขีด ทำให้ต้องมีการอพยพผู้คนทั้งหมดออกจากเมืองไปในทันที เมืองนั้นจึงกลายเป็นเมืองร้างและมีบรรยากาศที่หลอน วังเวงน่ากลัวที่สุด คือเมือง พรีเพียต ในประเทศยูเครน

พรีเพียต เป็นเมืองร้างยุคใหม่ที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลอนไม่น้อยไปกว่าเมืองโบราณอื่นๆ ที่มีประวัติยาวนานในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเป็นเขตหวงห้าม เพราะยังมีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมาอยู่ตลอด แต่ก็มักจะมีคนที่อยากลองของแอบเข้าไปอยู่เสมอ เมื่อไปมาแล้วก็จะเล่าถึงความรู้สึกและประสบการณ์แปลกๆ ซึ่งเจอในเมืองนั้นคล้ายๆ กันว่า บรรยากาศของความวังเวง สัมผัสได้ตั้งแต่หลายกิโลเมตรก่อนเข้าสู่ตัวเมือง เพราะ 2 ข้างทางมีฟาร์มและบ้านร้างอยู่ให้เห็นเป็นระยะๆ

ต้นไม้, เรือ, น่ากลัว, รก, ขนส่ง, ยุโรป

ในตัวเมืองมีเศษขยะและข้าวของที่ถูกทิ้งเรี่ยราดตามถนนทุกสาย 2 ฟากถนนมีตึกรามเรียงรายอยู่พอสมควร รถยนต์หน้าตาโบราณๆ มีจอดทิ้งไว้ให้เห็นอยู่หลายคัน บอกให้รู้ว่ามันเคยเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่น้อยเลย แต่บัดนี้มีเพียงความเงียบกับเสียงลม ความรู้สึกแปลกๆ เกิดขึ้นเมื่อเดินไปตามถนน เหมือนมีสายตาจากที่ใดที่หนึ่งทางซ้ายบ้างทางขวาบ้าง จ้องมองเราอยู่แทบทุกฝีก้าว


สะพานคอนกรีตที่ดูไม่ต่างจากสะพานทั่วไป แต่เมื่อได้ก้าวเท้าเข้าไปบนนั้น ความรู้สึกเยียบเย็นแบบประหลาดๆ ก็เข้ามากระทบประสาทสัมผัสทันที เมื่อครั้งเกิดเหตุที่โรงไฟฟ้า ชาวเมืองจำนวนหนึ่งพากันไปยืนบนสะพาน ที่สามารถมองเห็นโรงไฟฟ้าได้ พวกเขามองดูการระเบิดที่พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยไม่คิดว่ารังสีที่สูงเกินค่าที่ปลอดภัยกว่า 500 เท่าจะแผ่ไปถึงที่นั่นอย่างรวดเร็ว ทุกคนที่นั่นตายหมดในไม่กี่วันหลังจากนั้น

ต้นไม้, ล้อ, ดอกไม้, เมือง, ในเมือง, การพักผ่อนหย่อนใจ

ถนนแคบๆ ที่มีต้นไม้ใหญ่เรียงรายอยู่ 2 ด้านของถนนพาเข้าไปสู่สวนสนุกประจำเมือง ที่มีวงล้อชิงช้าสวรรค์สีเหลืองมองเห็นได้แต่ไกล ที่นี่เคยเป็นจุดมีสีสันและมีชีวิตชีวาที่สุดของเมือง เสียงหัวเราะอย่างสนุกสนานของเด็กๆ และหนุ่มสาวที่เคยดังไปทั่ว ปัจจุบันนี้เหลือแต่ความเงียบวังเวง หดหู่ คราใดที่ลมเย็นยะเยือกกระโชกพัด ทั้งเสียงลมและเสียงเอี๊ยดอ๊าดของเครื่องเล่น ที่ทำจากโลหะก็ดังขึ้น และใบไม้ตามพื้นปลิวว่อนเคว้งคว้างไปตามแรงลม ทำให้ใครที่เข้าไปสัมผัสสถานที่นั้นแล้วไม่อยากอยู่ต่อแม้สักนาที ในอาคารต่างๆ คือที่ที่จะทดสอบประสาทว่าใครทนหลอนได้ดีกว่ากัน โดยเฉพาะในโรงพยาบาล กลิ่นอายของความเจ็บป่วย ความตาย ตลบอบอวลตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าไป ประสาทสัมผัสทุกส่วนจะตึงเขม็งไปอย่างไม่รู้ตัว บ่อยครั้งที่เสียงเหมือนกรีดร้องอย่างน่ากลัวดังขึ้นให้ทุกคนได้ยินโดยไม่มีใครบอกได้ว่ามาจากที่ใด ทุกคนที่เดินอยู่ในนั้นล้วนแต่มองตรงไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่มีใครอยากจะหันไปแล้วเจอภาพสยองที่ทำให้ขนลุกขนพอง ห้องคนป่วยหลายห้องมีคราบสีเข้มเลอะบนผนังและบนฟูกที่ขาดวิ่น ขวดยาที่เปิดทิ้งไว้หลายขวดทำให้จินตนาการไปต่างๆ นานาว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนที่อยู่ในห้องพวกนั้นตามโรงเรียนและเนิร์สเซอรี่เด็กเล็กมีตุ๊กตาหลายตัววางอยู่ตามพื้นบ้าง ข้างบันไดบ้าง บนโต๊ะ ที่ล้มคว่ำอยู่กับพื้นบ้าง คราใดที่หันไปมองมันโดยบังเอิญ

สถาปัตยกรรม, คฤหาสน์, บ้าน, ชั้น, อาคาร, บ้าน

ความรู้สึกบอกว่ามันกำลังจ้องมองเราอยู่เช่นกัน ตุ๊กตาเหล่านั้นหลายตัวนอกจากจะดูเหมือนมีชีวิตแล้ว ยังดูราวกับมีใครบางคนที่เล่นมันแล้วเอามาวางไว้ชั่วคราว บ่อยครั้งที่มีเสียงกระพือปีกเหมือนนกขนาดใหญ่ดังขึ้นท่ามกลางความเงียบตามอาคารต่างๆ หลายคนบอกตรงกันว่าเคยเห็นเจ้าของเสียงที่ว่ามันเหมือนนกปีศาจสีดำขนาดใหญ่มาก บางคนบอกว่าปีกมันกางกว้างออกไปตั้ง 20 ฟุต แต่เพียงชั่วแวบเดียวมันก็อันตรธานไปเสียแล้ว ผู้คนแถบนั้นรู้จักมันในชื่อ “Black Bird of Chernobyl”และเชื่อกันว่ามันอาจเป็นผลพวงจากการกลายพันธุ์เพราะกัมมันตภาพรังสี แถบอพาร์ตเมนต์คนงานมีหลายคนบอกว่าพบเห็นเงาดำเหมือนผู้ชายร่างสูงผ่านไปผ่านมา ทั้งที่อาคารนั้นร้างสนิท มีการขนานนามเขาคนนั้นว่า “Slender Man” ถ้าสิ่งที่เห็นไม่ใช่ภาพหลอน เขาก็คงไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน เพราะไม่มีมนุษย์คนใดจะอาศัยอยู่ในเมืองแบบนั้นได้ความสยองขวัญของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ “Chernobyl Diaries เชอร์โนบิลเมืองร้าง มหันตภัยหลอน” กับเรื่องราวของกลุ่มนักท่องเที่ยว 6 คนที่จ้างไกด์เถื่อนให้ลักลอบพาเข้าไปสำรวจเมืองร้างในเขตหวงห้ามแห่งนี้ พวกเขารู้สึกเหมือนถูกจับตามอง และค้นพบว่าบางทีสถานที่แห่งนี้อาจไม่ได้มีแต่เพียงแค่พวกเขาเท่านั้น...

10

ย้อนอดีตกลับไปสู่ยุคที่เมืองแห่งนี้ยังไม่กลายเป็นเมืองหลอน ประเทศยูเครนในยุคนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, พ.ศ.2520 คือปีที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เตาที่ 1 ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์โรงแรกของที่นั่นสร้างเสร็จ เตาที่ 2 เสร็จในปีถัดไป จากนั้นเตาที่ 3 และ 4 ก็สร้างเสร็จตามมา ในปี พ.ศ.2524 และ 2526 ตามลำดับ โรงไฟฟ้าโรงนี้สร้างอยู่ห่างจากเมืองเชอร์โนบิลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 18 กิโลเมตร โดยมีเมืองพรีเพียตเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าดังกล่าวมากที่สุด เมืองนี้เป็นเมืองใหม่ที่สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อรองรับคนงานและครอบครัวที่ต้องไปทำงานก่อสร้างที่นั่น รวมๆ แล้วก็เกือบ 50,000 คน ในยุคนั้นโรงไฟฟ้าแห่งนี้มีชื่อว่า สถานีผลิตกระแสไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ วี.ไอ. เลนิน ภายหลังเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย จึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เชอร์โนบิล แม้ว่าที่โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แล้วถึง 4 เตา ก็ยังทำการขยายกำลังผลิตโดยการสร้างเตาที่ 5 และที่ 6 ต่อไปอีก แต่ทั้ง 2 เตานั้นยังสร้างไม่ทันเสร็จ เหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญชาวโลกก็เกิดขึ้นเสียก่อน

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ.2529 ระหว่างการ ทดสอบระบบหล่อเย็นของเตาหมายเลข 4 ที่ทำกันในเวลากลางคืน ก็เกิดปัญหาขึ้นมาอย่างไม่คาดคิด เมื่อแรงดันไอน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยที่ระบบ ตัดการทำงานอัตโนมัติเกิดขัดข้องไม่สามารถหยุดแรงดันนั้นได้ เป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงขึ้นถึง 2,000 องศาเซลเซียสจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลายและระเบิดขึ้นในที่สุด แรงระเบิดคร่าชีวิตเจ้าหน้าที่ทั้งหมดไปทันทีหลายสิบคน และอีกหลายพันคนที่อาศัยในเมืองพรีเพียตเสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วยโรคมะเร็ง เถ้าจากการระเบิดที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ ปกคลุมไปทั่วทิศตะวันตกของสหภาพโซเวียต ประเทศแถบยุโรปตะวันออก ยุโรปเหนือ และบางส่วนของยุโรปตะวันตก

7

ทางการของยูเครนและเบลารุสต้องอพยพผู้คนที่อยู่ในรัศมีใกล้เคียง จำนวนหลายแสนคนออกจากพื้นที่ ซึ่งแน่นอนว่าการอพยพดังกล่าว ทำให้เมืองพรีเพียตกลายเป็นเมืองร้างไปอย่างรวดเร็ว ไฟที่ลุกไหม้จากแรงระเบิดไม่สามารถจะดับได้ เพราะกัมมันตภาพรังสีที่รั่วออกมาอย่างรุนแรง ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีครั้งนั้นรุนแรงกว่าครั้งที่เมืองฮิโรชิมาถูกบอมบ์ด้วยระเบิดนิวเคลียร์ถึง 4 เท่า และอาจต้องใช้เวลาอีกราว 24,000 ปี ผู้คนถึงจะกลับมาอาศัยอยู่ได้อย่างปลอดภัย

จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม รัฐบาลยูเครนจึงตัดสินใจสั่งให้สร้างฝาครอบยักษ์ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ครอบเตานั้นไว้ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของรังสี สิ่งก่อสร้างที่ว่านั้นระดมคนและเครื่องจักรเท่าที่สามารถจะหาได้ทำกันอย่างเร่งด่วน ทั้งกลางวันและกลางคืน จนกระทั่งแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน มันประกอบไปด้วยเหล็กกล้ามากกว่า 7,000 ตัน และคอนกรีตราว 410,000 ลูกบาศก์เมตร เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา และเน้นประสิทธิภาพในการกักกั้นกัมมันตภาพรังสี ฝาครอบยักษ์นั้นจึงมีรูปร่างเหมือนโลงศพดีๆ นี่เอง ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งก็คือ มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้เพียงไม่เกิน 30 ปี 

5

ดังนั้น ในปีพ.ศ.2551 ธนาคารเพื่อการก่อสร้างและพัฒนาแห่งยุโรปจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งให้รัฐบาลยูเครนนำไปสร้างฝาครอบหรือโลงศพ อีกอันหนึ่งที่ทนทานกว่าเดิม ครอบทับไปบนของเดิม เพื่อไม่ให้รังสีหลุดรั่วออกมา โลงอันใหม่นี้จะแล้วเสร็จภายใน พ.ศ.2555 นี้เอง

ทุกวันนี้ค่ากัมมันตภาพรังสีในตัวเมือง อยู่ในระดับที่มนุษย์ที่ไม่สวมชุดป้องกันพอจะเข้าไปได้ แต่รอบๆโรงไฟฟ้าในรัศมีสองสามร้อยเมตร ยังคงมีค่าสูงเกินมาตรฐานหลายเท่า ตัวเมืองนั้นเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมได้ แต่บางพื้นที่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษเท่านั้น โดยทั้งก่อนและหลังจากที่เดินทางเข้าไป ทุกคนจะต้องได้รับการตรวจระดับกัมมันตภาพรังสีที่อยู่ในร่างกาย และระหว่างทัวร์ก็ต้องมีเครื่องตรวจจับรังสีวัดค่าไปตลอดทาง ซึ่งผู้ที่ใจกล้าพอจะเข้าไปทัวร์ในเชอร์โนบิล เกินกว่าครึ่งต้องอยากขอไปท้าพิสูจน์ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่ร่ำลือต่อๆ กันมา...

‘อิวาเตะ’ ชั่วยาม

ปิดหูปิดตาหนีให้พ้นไปจากเมืองไทยไปที่จังหวัด"อิวาเตะ"เมืองที่มีพื้นที่ใหญ่และมีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของญี่ปุ่นรองจาก "ฮอกไกโด" ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของเกาะ "ฮอนชู"

บางพื้นที่ของที่นี่ได้รับผลกระทบจากสึนามิเช่นเดียวกับที่อื่นในช่วงเดือน มี.ค.ปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้การท่องเที่ยวของที่นี่ รวมทั้งญี่ปุ่นทั้งประเทศเสียหายไป เพราะคนมาเที่ยวน้อยลงกว่า 50% ความเสียหายจากสึนามิที่ร้ายแรง ส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เสียหายไปมากกว่าน้ำท่วมบ้านเราหลายร้อยเท่านัก

ช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่นทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกชนิดในโลก ด้วยการเดินสายไปบอกกล่าวผู้คนในประเทศต่างๆ ให้มาเที่ยวญี่ปุ่น เพราะเขาถือว่าการได้เงินอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องลงทุนมาก ก็มีแต่การท่องเที่ยวเท่านั้นที่ทำได้ง่ายที่สุด วันนี้ถึงขั้นจะให้วีซ่าให้คนที่มาเที่ยวญี่ปุ่นอยู่ได้นานขึ้น หลายครั้งขึ้น แทนการเข้มงวดดังแต่ก่อน



"อิวาเตะ"ยามนี้เป็นรอยต่อระหว่างฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อน ไม่ใช่ฤดูหนาวที่หฤโหด ซึ่งอยู่ในเดือน ธ.ค.-ก.พ. ใบไม้ที่เขียวสดใสจึงปรากฏให้เราเห็นทั่วไปในท่ามกลางแดดจ้า แม้จะมีเมฆหมอกเป็นม่านบังฟ้าอยู่บ้าง แต่ไม่นานก็หายไป เพราะการเป็นเกาะกลางทะเลทำให้ลมพัดไปไวมาไว ฤดูนี้จะเห็นเด็กและคนชราออกมากลางแดดเพราะไม่หนาว แถมมีอากาศสดใสด้วย ส่วนคนหนุ่มสาวก็ใส่เสื้อผ้าที่บางเบาตามท้องถนน

อิวาเตะ เป็นเมืองเกษตร เราจึงเห็นเกษตรกรแต่งกายสีเทาดำสบายๆ ไปทำงานในไร่อยู่เป็นระยะๆ ส่วนในนาเต็มไปด้วยกล้าเขียวเป็นทิวแถว

โรงแรมแรกที่เราเข้าไปเช็กอินก็คือโรงแรม APPI ที่หลายคนเอามาหัวเราะกันว่าชื่อโรงแรมอัปรีย์ ซึ่งไม่เป็นมงคลนักในภาษาไทย แต่เป็นโรงแรมสกีรีสอร์ตที่ใช้ได้แห่งหนึ่งของญี่ปุ่นทีเดียว โรงแรมนี้มีฟาร์มเลี้ยงวัวของตัวเอง ดังนั้นไอศกรีมของที่นี่จึงอร่อยม้ากมาก

โรงแรมที่ 2 คือ เดอะพาร์ก (เรียวกัง) เป็นโรงแรมออนเซ็นที่เอาน้ำทะเลมาเคี่ยวให้คนอาบ ข้างล่างของโรงแรมสวยมาก เป็นหน้าผา เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Hanamaki Onsen

โรงแรมที่ 3 คือ โรงแรมฮานามากิออนเซ็น ซึ่งมีน้ำพุร้อนให้แช่กันหลายจุด โรงแรมนี้นอกจากมีสวนกุหลาบและดอกไม้หลากหลายสายพันธุ์ให้ดูแล้ว พนักงานสาวที่ชื่อ "ข้าวเหนียว" ยังพูดภาษาไทยได้เก่ง แถมอัธยาศัยดีอีกด้วย เธอมาอยู่ที่เชียงใหม่ได้ระยะหนึ่งก่อนกลับไปบ้านเดิมของเธอ โรงแรมพาเราไปร้องคาราโอเกะแบบญี่ปุ่นในโรงแรม พร้อมกับผู้จัดการหลายๆ แห่งที่มาต้อนรับเราด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Chuson-ji

วัดซูออนจิ หรือวัดสีทองแห่งเมืองฮิราอิซูมิของจังหวัดอิวาเตะ เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อ 900 ปีที่ผ่านมา เมืองนี้เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นในสมัยที่เกียวโตเป็นเมืองหลวง ผมเคยมาวัดนี้ตอนไปดูเขาปั้นหิมะที่ซัปโปโรกับป้าอ้อยแห่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ติดหนี้รูปภาพเขามาจนทุกวันนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วังโกะโซบะ

วังโกะโซบะ คือบะหมี่พื้นเมืองที่เราไปกินกันก่อนกลับ เป็นอาหารท้องถิ่นของเมืองโมริโอกะแห่งจังหวัดอิวาเตะที่"ไม่เหมือนใคร"และ"ไม่มีใครเหมือน"ด้วยการเสิร์ฟของพนักงานสาวที่เทโซบะขนาดพอคำลงมาให้คุณทันทีที่คุณดูด (หรือกลืนโดยไม่ต้องเคี้ยว) เข้าปาก คุณจะกินสักร้อยชามพันชามก็ได้ถ้าคุณมีความสามารถและไม่กลัวที่จะตายไปแบบ"ชูชก"คนเก่งที่สุดกินได้ 570 ชาม

ก่อนลงมือกินจะมีพนักงานมาบอกกฎกติกามารยาทให้ทราบ โดยเฉพาะที่ว่าถ้าปิดฝาชามเมื่อไหร่ หมายถึงจะยุติการเสิร์ฟทันที

การเสิร์ฟทีละคำแบบนี้ นับแล้ว 15ชาม เท่ากับชามปกติ 1 ชาม ซึ่งพนักงานจะแนะนำว่าให้กินแต่โซบะ เอาน้ำที่เหลือทิ้งไปในถังที่เขาเตรียมเอาไว้ ส่วนใหญ่ผู้ชายกินได้เฉลี่ย 50-60 ชาม ผู้หญิงกินได้ประมาณ 30-35 ชาม

กติกามีอยู่ว่าคุณเผลอไปปิดชามเมื่อไหร่ก็จะหมดโอกาสกินเมื่อนั้น ร้านที่เราไปกินชื่อร้าน Azumaya อยู่กลางเมือง คนไปกินเยอะมาก โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ชอบความท้าทาย

ที่เมืองโมริโอกะและเมืองฮานามากิ จะมีการจัดการแข่งขันกินวังโกะโซบะกันทุกๆ ปี คนที่กินได้สูงสุด 570 ชาม ส่วนจะคิดเป็นกี่ชามปกติเท่าไหร่ก็เอา 15 หารเอาเอง คณะเรากินได้สูงสุดแค่ 32 ชาม ซึ่งก็ได้รับรางวัลจากเจ้าของร้าน เป็นโซบะแห้งติดไม้ติดมือกลับมา แต่ปรากฏว่าถูกพรรคพวกแซวว่าหลังจากนี้จะไม่นัดไปเจอที่ร้านอาหารเด็ดขาด เพราะกลัวการกินจุของเธอ คนที่กินน้อยสุด 12 ชาม เขาคิดค่าหัวคนละ 3,150 เยน กินแค่ 12 ชาม เมื่อคิดเป็นเงินไทยก็แพงมาก ( 100 เยน ประมาณ 40-41 บาท) ทริปนี้ชิบ (ที่ไม่หาย) กินวังโกะโซบะแพงที่สุด ตกคำละเท่าไหร่คิดเอาเอง

พนักงานที่ยืนค้ำหัวเราะอยู่ ถ้ามองในแง่ดีถือว่าเอาใจใส่ลูกค้า (เพราะเป็นหญิงสาวหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสและเชิญชวนชิมมาก) แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็เป็นการกดดันลูกค้า ให้สูดเส้นบะหมี่เข้าปากเร็วๆ บะหมี่อร่อย มีปลาดิบและไก่สับพร้อมผักแกล้มให้ด้วย แต่กินหมดแล้วหมดเลย ไม่มีเสิร์ฟให้อีก กินเสร็จเขาจะนับชาม จากนั้นจะเขียนลงในใบประกาศนียบัตรให้แต่ละคนไปเป็นที่ระลึก ก๋วยเตี๋ยวเรือไทยก็เคยทำแบบนี้ แต่ไม่เป็นทางการ พวกเราขอถ่ายรูปหนุ่มสาวชาวอาทิตย์อุทัยเขมือบโซบะแบบชามเปล่าวางบนโต๊ะเพียบ ซึ่งแต่ละโต๊ะไม่เบาเลยทีเดียว นับแบบยังกินไม่เสร็จ สองคนตกเกือบ 200 ชาม แถมยังถามกลุ่มคนไทยด้วยว่ากินคนละกี่ชาม พอพวกเราบอกหนุ่มญี่ปุ่นถึงกับส่ายหน้า เพราะอย่างมากก็แค่ 30 กว่าชาม จิ๊บจ๊อยสิ้นดี เขายังตั้งคำถามด้วยว่าทำไมพวกยูกินแพงจัง