เรื่องราว ‘แม่ฟ้าหลวง’ ที่หลายคนไม่เคยรู้


เรื่องราวแวดล้อมในชีวิตของในหลวงรัชกาลที่ 9 หนึ่งในเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องผูกพัน สวยงาม และมีพลังอย่างที่สุด คือเรื่องราวการทำงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่เราเรียกพระนามติดปากว่า ‘สมเด็จย่า’ ผู้ทรงริเริ่มองค์กรแม่ฟ้าหลวง และเริ่มต้นภารกิจปลูกป่าบนเขาหัวโล้น เพื่อพลิกชีวิตชาวเขาและคนไทยพื้นราบนับหมื่นให้อยู่ดีกินดี หลุดพ้นจากปัญหายาเสพติดและความยากจน จนประสบความสำเร็จอย่างงดงามแม้ในวันที่สมเด็จย่าทรงจากพวกเราไปกว่า 21 ปีแล้ว

สิ่งที่หลายคนไม่ทราบคือ วิสัยทัศน์การทำงานขององค์กรแม่ฟ้าหลวง เกิดขึ้นภายใต้เข็มทิศปรัชญาจากสมเด็จย่า และองค์ความรู้ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาคิดค้น ทั้งสองพระองค์ทรงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด ความรู้ เกิดเป็นสายสัมพันธ์งดงาม 

หลักปรัชญา ที่องค์กรแม่ฟ้าหลวงน้อมนำมาใช้ได้รับการยกย่องโดย UN บนเวทีโลก และเป็นเข็มทิศที่หลายประเทศกำลังเดินตามในปัจจุบัน

เที่ยวพิพิธภัณฑ์อาวุธ เขาค้อ เล่าประวัติพื้นที่วีรบุรุษปราบคอมมิวนิสต์


พิพิธภัณฑ์อาวุธ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาศึกษา ร่องรอยประวัติศาสตร์การสู้รบระหว่างทหาร ในการปราบปรามกลุ่มคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์พิษณุโลกและจังหวัดเลย เมื่อเราได้มาลองศึกษาประวัติของฐานยิงสนับสนุนอิทธิพบว่า คนไทยในอดีตต้องเสียสละทั้งชีวิตและกำลังทรัพย์เพื่อปกป้องทุกตารางนิ้วของประเทศไทยเอาไว้จากกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์

สำหรับประวัติของพิพิธภัณฑ์อาวุธแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ใน พท. กองทัพภาคที่ 3 บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลยมีประวัติการสู้รบมากกว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2511 ฝ่ายรัฐบาลสูญเสียกำลังพล และยุทโธปกรณ์จำนวนมากเพื่อล้มล้างอิทธิพล ผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ หรือ ผกค. ในพื้นที่ปี 2524 พตท. 1617 ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้เอาชนะ ผกค. ในเขตพื้นที่เขาค้อได้เปิดยุทการ “ผาเมืองเผด็จศึก 1” เพื่อยึดและขับไล่ ผกค.

15659043_10154866199799288_161358897_o

บริเวณเขาค้อ การปฏิบัติฝ่ายเราสามารถยึดเขาค้อได้ภายใต้ การยิงสนับสนุนของปืนใหญ่ จากฐานยิงสนับสนุนสมเด็จ (ฐานยิงสนับสนุนสมเด็จนี้เป็นฐานยิงของ พัน ป.3404 วัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์จาก ป.พัน 4 นครสวรรค์ และ ป.พัน 104 พิษณุโลก ฐานยิงสนับสนุนสมเด็จตั้งห่างจากเขาค้อ 7 กม.) ความสำเร็จนี้ ทำให้เราได้ก่อสร้างทางและขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดน ผกค. อย่างรวดเร็ว

การที่จะเอาชนะ ผกค. ในเขตงานเขาค้อได้โดยเด็ดขาดนี้ จำเป็นต้องใช้กำลังฝ่ายเราที่มีทั้งหมดโจมตีฐานที่มั่นของ ผกค. บริเวณเขาห้วยทราย ทุ่งสะเดาะพง – เขาตะเคียนโง๊ะ – เขาปู่ และบ้านหนองแม่นา ดังนั้น พตท. 1617 จึงมีนโยบายเปิดยุทธการ “ผาเมืองเผด็จศึก 2” ขึ้นเพื่อโจมตีฐานที่มั่น ผกค. ดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อให้การยิงปืนใหญ่เป็นไปอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ปฎิบัติการจำเป็น ต้องย้ายปืนจากฐานยิงสนับสนุนสมเด็จมาตั้งยิงบนเขาค้อ (ฐานยิงสนับสนุนอิทธิปัจจุบัน) ได้เคลื่อนย้าย ปกค. 115 มม. 1 กระบอก ได้ตั้งยิงเมื่อ 17 ก.พ. 2524 และเคลื่อนย้าย ปกค. 105 มม. แบบ XM 618 ที่ ศอว.ทบ. เป็นผู้ผลิตและให้ ป.พัน 4 ทดลองใช้ในสนามจำนวน 2 กระบอก ดังนั้น พตท. 1617 จึงเปิดยุทการ “ผาเมืองเผด็จศึก 2”

15658894_10154866197864288_1448801700_o

อาวุธปืนใหญ่ขนาดกลาง กระสุนวิถีโค้ง 03 ขนาด 155 มม. ชื่อว่าพระยาตานี และปืนใหญ่เขา กระสุนวิถีโค้ง 95 ขนาด 105 มม. ชื่อ อินทรีกลืนช้าง ที่ใช้เป็นฐานยิงสนับสนุนทำให้การยิงให้หน่วยดำเนินกลยุทธในพื้นที่จนสามารถยึดและทำลายที่มั่น ผกค. เขตงานเขาค้อได้อย่างสิ้นเชิง

ฐานยิงฯ แห่งนี้ทำการยิงให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ ในพื้นที่จนสามารถยึดและทำลายที่มั่น ผกค. งานเขาค้อได้อย่างสิ้นเชิง ต่อมาฐานยิงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “ฐานยิงสนับสนุนอิทธิ” เป็นอนุสรณ์แก่พันเอกอิทธิ สิมารักษ์ ผช.ผอ. พตท 1617 ซึ่งเสียชีวิตจาการบัญชาการรบที่เขาค้อ เพื่อนำผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตออกจาก พื้นที่การต่อสู้

การสู้รบระหว่างกำลังทหารกับ ผกค. บริเวณเขาค้อ เขาย่า ทุ่งสะเดาะพง เขาปู่ และหนองแม่นา ยุติลงสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2525 นับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่มิใช่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งแต่เป็นของประชาชนชาวไทยทั้งปวงที่สามารถยุติความขัดแย้งและการใช้ กำลังอาวุธ ตัดสินปัญหามาสู่สันติและการร่วมมือกันพัฒนาประเทศ

ปัจจุบัน ฐานอิทธิ ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก่อสร้างเพิ่มเติมให้เป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธ โดยกองพันการปืนใหญ่ที่ 30 จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์การต่อสู้ของกองกำลังฝ่ายบ้านเมืองกับ ผกค.

15628834_10154866197889288_849124541_o

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ภายในอาคารมีการจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสื้อผ้าสิ่งของต่างๆ ที่เป็นของนักรบไทย ของ ผกค. ไว้มากมายทั้งเครื่องยิงจรวด RPG-2 ของจีนแดง เครื่องแต่งกายของ พลท.ไพโรจน์ จันทร์อุไร แม่ทัพภาคที่ 3 ซึ่งใช้ในยุทธการ “หักไพรี” ตั้งแต่ 8 -18 ธ.ค. 24 และยุทธการ “ผาเมืองเกรียงไกร” ตั้งแต่ 9 พ.ค – 6 มิ.ย. 25 ขณะดำรงตำแหน่ง ผบ.ม.3 และ ผอ.พตท.33 เครื่องแต่งกายของ พล.อ.สีมา ปาณิกบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งใช้ในยุทธการ “

อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 13 ต.ทุ่งสมอ อ.เขาค้อ เป็นยอดเนินเขาสูงสุดของเขาค้อ เราก็มาถึงยอดเขาค้อที่มีหินอ่อนรูปทรงสามเหลี่ยม ตั้งตะหง่านอยู่ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความเสียสละของพี่น้องทหารหาญของชาติไทย ที่ต้องเสียสละทั้งชีพ และเลือดเนื้อเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้ไว้ให้รอดพ้นจากภัยของผู้หลง ผิดคิดร้ายต่อประเทศชาติ

อนุสรณ์แห่งนี้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานให้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจคนไทยทั้งชาติว่า “ยามใดที่คนไทยขัดแย้งกัน จะต้องมีการสูญเสียอย่างผู้กล้า 1,171 ชีวิต จารึกกับองค์อนุสรณ์ จงอย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก”

อนุสรณ์แห่งนี้ สร้างโดยกองพันทหารช่างที่ 4 ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ก่อสร้างโดยความร่วมมือและเงินบริจาคของประชาชนและ ข้าราชการทุกฝ่าย เป็นเงินประมาณ 6 ล้านบาท
ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อาวุธ และอนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้มาศึกษาประวัติศาสตร์ของการปกป้องประเทศ จากกลุ่มคนที่จะคิดแบ่งแยก หรือยึดครองประเทศไทยของเราและในช่วงนี้เป็นช่วง high season ของการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์อาวุธก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกของนักท่องเที่ยว ที่จะแวะมาเที่ยวชม ถ่ายภาพ เพราะมีจุดชมวิวที่สวยงามใหลายแห่ง ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังอำเภอเขาค้อสำหรับการเข้าชมสถานที่ จะเสียค่าบำรุงสถานที่คนละ 10 บาท เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 7.00- 17.00 น