เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมานี้ วาน นาท (Vann Nath) จิตรกรชาวเขมรได้จากโลกนี้ไปด้วยวัย 65 ปี ข่าวการเสียชีวิตของวาน นาท เป็นข่าวดังไปทั่วโลก เช่นเดียวกับการเสียชีวิตของ ดิธ พราน ผู้สื่อข่าวชาวเขมรของนิวยอร์กไทม์สเมื่อ 3 ปีก่อน ด้วยวัย 65 ปีเท่ากัน
ปี 2518 เขมรแดงรุกเข้ายึดกรุงพนมเปญ 13 เมษายน วันปีใหม่เขมร เป็นวันที่ชาวเขมรพากันโล่งอก จะชอบหรือไม่ชอบคอมมิวนิสต์ พวกเขาก็พอใจที่สงครามยุติ มีฝ่ายหนึ่งแพ้อีกฝ่ายชนะ เขาเชื่อด้วยใจจริงว่าสงครามหยุดแล้ว ต่อไปบ้านเมืองจะสงบ ชนชั้นสูง ชั้นกลาง กับคนจนรากหญ้าเสมอภาคกันแล้ว แต่ในที่สุด ดิธ พราน และชาวพนมเปญก็ถูกต้อนออกจากเมืองหลวง วาน นาท เองก็ถูกต้อนออกจากเมืองพระตะบอง
ตอนเขมรแดงยึดอำนาจ เขามีอาชีพเขียนโปสเตอร์ภาพยนตร์ มีชีวิตอยู่อย่างคนจนรากหญ้าธรรมดา ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง มีภรรยา และลูกสาวหนึ่งคน อุ้มท้องอยู่อีกหนึ่งคน (ทั้งสองเสียชีวิตในยุคเขมรแดง) เขมรแดงไล่คนออกจากเมืองหมด กลายเป็นเมืองร้าง
วาน นาท กลับสู่ชนบทไปเป็นชาวนา เป็นสมาชิกสหกรณ์หมายเลข 5 ประมาณต้นปี 2521 เคราะห์ร้ายมาเยือน ขณะแบกข้าวจากท้องนามารวมกอง เขมรแดงที่เขารู้จักเรียกให้เขาขึ้นเกวียน บอกว่าถูกเกณฑ์ไปตัดหวาย เขาถูกนำตัวไปที่สหกรณ์อีกแห่ง กลางดึกคืนนั้นเขมรแดงอีกคนที่เขารู้จักจับเขามัด อิสรภาพสิ้นสุดลงตั้งแต่บัดนั้น
ข้อสังเกตคือ คนที่ไปตามเขามาและคนที่มัดเขาเป็นคนที่เขารู้จัก เพราะสังคมเขมรไม่ใช่สังคมใหญ่
วาน นาท ถูกส่งต่อมาที่คุก S21 หรือคุกตุลเสลงในพนมเปญ เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมแล้วแปลงเป็นคุกและสำนักงานใหญ่สันติบาลทำหน้าที่สืบสวนหาข่าว ทรมาน และกำจัดศัตรูขององค์การ เป็นที่คุมขังนำนักโทษมาถ่ายรูปทำประวัติแล้วสอบสวนทรมานจนกว่าจะสารภาพ
คุกนี้มีเก่ง เก็ก เอียฟ หรือชื่อจัดตั้งว่า สหายดุช เป็นผู้บัญชาการหัวหน้าสันติบาล ขึ้นตรงต่อพอลพต เป็นคนที่พอลพตไว้วางใจที่สุด ทำงานถูกใจพอลพตมาก สิ่งที่สหายดุชทำคือ ทุกคนที่ถูกส่งเข้าคุกต้องสารภาพเท่านั้น หากไม่สารภาพจะต้องถูกทรมานหลากหลายรูปแบบจนตาย มีตั้งแต่การเฆี่ยนตี การช็อตไฟฟ้า การจับกดน้ำ การบังคับให้ดื่มปัสสาวะ การบังคับให้ทานอุจจาระ คำสารภาพต้องเป็นที่พอใจของสหายดุชเท่านั้น คำสารภาพที่สหายดุชอยากได้มากคือ การเป็นไส้ศึกสายลับให้กับซีไอเอ หรือเคจีบี ตอนหลังเพิ่มสายลับเวียดนาม หรือการจารกรรม อะไรประมาณนี้ เมื่อพอใจแล้ว สหายดุชจะบังคับให้แจ้งรายชื่อผู้สมรู้ร่วมคิดจำนวนหนึ่ง เพื่อองค์การจะได้จับตัวมาเพิ่มและรีดเอาคำสารภาพต่อไป
มีคนทุกเพศทุกวัยถูกจับเข้าคุกนี้ประมาณ 15,000 คน ทุกคนตายหมด มีชาวยุโรปด้วยอย่างน้อย 2 คนตามที่วาน นาท เห็นด้วยตาตนเอง มีผู้รอดชีวิตจากคุกนี้เพียง 7 คน ทั้ง 7 รอดมาได้เพราะเป็นช่าง ที่เขมรแดงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ รวมทั้งวาน นาท ด้วย
ภายใต้เงื้อมมือมัจจุราช วาน นาท อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้คุมที่เข้มงวด ผู้คุมทั้งหมดเป็นเด็ก หรืออย่างเก่งก็วัยรุ่น ไร้ความเมตตา นักโทษต้องนอนเรียงกันอยู่ในห้องตีตรวนติดกันและติดกับพื้นตลอดเวลา แค่จะลุกจากนอนมานั่งเพื่อขจัดความเมื่อยก็ต้องขออนุญาต ได้รับอาหารวันละมื้อเดียวเป็นข้าวต้มมีแต่น้ำข้าวสองสามช้อน มีข้าวสองสามเม็ด นักโทษส่วนหนึ่งทยอยตายก่อนถึงนาทีมรณะ
เมื่อเวลาแห่งความตายมาถึง นักโทษทั้งห้องจะถูกนำตัวออกจากคุกไปในเวลากลางคืน พวกเขาถูกนำไปสังหารที่ลานสังหารช่องเอก การสังหารมักจะเป็นการทุบด้วยพลั่ว เชือดด้วยมีด หรือคลุมหัวด้วยถุงพลาสติกให้ขาดอากาศ ทั้งหมดถูกสั่งตายโดยสหายดุช ซึ่งจะลงนามสั่งประหารด้วยลายมือตนเอง วาน นาท ก็ถูกสั่งตายไว้แล้ว
ก่อนการประหาร สหายดุชสั่งให้ไว้ชีวิตวาน นาท เขาถูกแยกจากนักโทษอื่น ด้วยสภาพที่แทบจะเดินไม่ได้ เขาได้รับอาหารเป็นข้าวสวยครั้งแรกในชีวิตหลังถูกจับ เขากินข้าวไม่ได้เพราะขากรรไกรแข็งและคอกลืนไม่ลง ต้องค่อยๆ กินทีละนิด สหายดุชทราบจากทะเบียนประวัติว่าเขาเป็นนักวาด เขาจึงรอดตาย และได้ร่วมทีมช่างฝีมือประมาณ 10 คน ได้รับมอบหมายให้วาดภาพท่านผู้นำเขมรแดงพอลพต และร่วมในทีมปั้นรูปหล่อผู้นำพอลพต ที่ต้องการให้ประชาชนเห็นเป็นเทพ
มีคนทุกเพศทุกวัยถูกจับเข้าคุกนี้ประมาณ 15,000 คน ทุกคนตายหมด มีชาวยุโรปด้วยอย่างน้อย 2 คนตามที่วาน นาท เห็นด้วยตาตนเอง มีผู้รอดชีวิตจากคุกนี้เพียง 7 คน ทั้ง 7 รอดมาได้เพราะเป็นช่าง ที่เขมรแดงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ รวมทั้งวาน นาท ด้วย
ภายใต้เงื้อมมือมัจจุราช วาน นาท อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้คุมที่เข้มงวด ผู้คุมทั้งหมดเป็นเด็ก หรืออย่างเก่งก็วัยรุ่น ไร้ความเมตตา นักโทษต้องนอนเรียงกันอยู่ในห้องตีตรวนติดกันและติดกับพื้นตลอดเวลา แค่จะลุกจากนอนมานั่งเพื่อขจัดความเมื่อยก็ต้องขออนุญาต ได้รับอาหารวันละมื้อเดียวเป็นข้าวต้มมีแต่น้ำข้าวสองสามช้อน มีข้าวสองสามเม็ด นักโทษส่วนหนึ่งทยอยตายก่อนถึงนาทีมรณะ
เมื่อเวลาแห่งความตายมาถึง นักโทษทั้งห้องจะถูกนำตัวออกจากคุกไปในเวลากลางคืน พวกเขาถูกนำไปสังหารที่ลานสังหารช่องเอก การสังหารมักจะเป็นการทุบด้วยพลั่ว เชือดด้วยมีด หรือคลุมหัวด้วยถุงพลาสติกให้ขาดอากาศ ทั้งหมดถูกสั่งตายโดยสหายดุช ซึ่งจะลงนามสั่งประหารด้วยลายมือตนเอง วาน นาท ก็ถูกสั่งตายไว้แล้ว
ก่อนการประหาร สหายดุชสั่งให้ไว้ชีวิตวาน นาท เขาถูกแยกจากนักโทษอื่น ด้วยสภาพที่แทบจะเดินไม่ได้ เขาได้รับอาหารเป็นข้าวสวยครั้งแรกในชีวิตหลังถูกจับ เขากินข้าวไม่ได้เพราะขากรรไกรแข็งและคอกลืนไม่ลง ต้องค่อยๆ กินทีละนิด สหายดุชทราบจากทะเบียนประวัติว่าเขาเป็นนักวาด เขาจึงรอดตาย และได้ร่วมทีมช่างฝีมือประมาณ 10 คน ได้รับมอบหมายให้วาดภาพท่านผู้นำเขมรแดงพอลพต และร่วมในทีมปั้นรูปหล่อผู้นำพอลพต ที่ต้องการให้ประชาชนเห็นเป็นเทพ
ช่วงปลายยุคเขมรแดง พวกเขมรแดงเริ่มฆ่ากันเอง ทหารเขมรจับพวกกันเองเข้าคุก แบบเข้าวันนี้ฆ่าทิ้งวันนี้ โดยไม่สอบสวนเพราะไม่มีเวลา พวกเขมรแดงภาคตะวันออกถูกกวาดจับหมด รวมทั้งเขมรแดงชั้นผู้น้อย (ยังเป็นเด็ก) ด้วยข้อหาสมคบคิดกับเวียดนาม ซึ่งต่อมากองทัพเวียดนามก็ยกมาบุกเขมร
เมื่อเวียดนามบุกถึงพนมเปญ สหายดุชให้ผู้คุมสังหารคนในคุกทิ้งหมด พวกเจ้าหน้าที่คุกได้รับคำสั่งให้อพยพและควบคุมพวกช่างไปด้วย ระหว่างถอยมีการสู้รบชุลมุน เขากับพวกฉวยโอกาสหลบหนีและกระจายกันไปคนละทิศ หลังสงครามจึงสำรวจพบว่ามีผู้รอดชีวิตจากคุกสังหารเพียง 7 คน
สหายดุชถอยร่นไปกับกองกำลังเขมรแดง ตอนหลังทำตัวหายสาบสูญ จน นิค ดันลอป นักข่าวต่างชาติพบว่าเขาเปลี่ยนชื่อเป็น หังปิน เป็นล่ามอยู่ในค่ายอพยพของสหประชาชาติในประเทศไทย ในภายหลังเขาถูกนำขึ้นศาลคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของสหประชาชาติในกรุงพนมเปญ เมื่อ 30 มีนาคม 2554 ต้นปีนี้เองศาลได้พิพากษาให้จำคุก 35 ปี นับว่าช่างยุติธรรมเหลือเกินกับหญิงชายเด็กผู้ใหญ่รวมทั้งทารกร่วม 15,000 คน ที่เสียชีวิตโดยส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนทำผิดอะไร พอลพตไม่ต้องขึ้นศาลระหว่างประเทศ เพราะเขมรแดงตั้งศาลเอง พิจารณาเอง และสั่งควบคุมเอง เขาตายในที่ควบคุมเมื่อ 15 เมษายน 2541 เกือบจะเรียกได้ว่าไม่ได้รับโทษอะไรเลย
ปี 2523 และต่อจากนั้น กระทรวงข่าวสารและวัฒนธรรมขอให้วาน นาท วาดภาพการทรมานและความเจ็บปวดรวดร้าวที่เขาและเพื่อนร่วมคุกประสบออกมาเป็นภาพมีชีวิตบนผืนผ้าใบเพื่อแสดงในพิพิธภัณฑ์
ปี 2541 หนังสือของเขาชื่อ “A Combodian Prison Portrait : One Year in the Khmer Rouge’s S21” ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ White Lotus ของไทย และเขาได้แสดงในภาพยนตร์ชื่อ “S21 : Khmer Rouge Killing Machine” ภาพยนตร์กำกับโดยฤทธี พาน ชาวเขมร เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัล “Francois Chalais” จากเมืองคานส์ในปี 2546 ด้วย
เขาบอกว่า ช่วงที่เขารู้สึกดีที่สุดคือเมื่อได้เป็นพยานในศาลในคดีประวัติศาสตร์นี้ สำหรับเหยื่อทุ่งสังหารทั้งหลาย ถือว่าเป็นเวลานานมากที่ต้องรอคอยความยุติธรรม ในปี 2552 เมื่อศาลเปิดพิจารณาคดี เขาบอกว่า “ผมรอเรื่องนี้มานานถึง 30 ปี ผมไม่เคยคิดว่าวันนี้จะได้มานั่งในศาลเพื่อบอกกล่าวถึงประสบการณ์เลวร้าย ผมหวังว่าในที่สุดแล้วความยุติธรรมจะเป็นสิ่งที่ทุกคนสัมผัสได้ เห็นได้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น