ค่ายทหารฝรั่งเศส ที่จันทบุรี เมื่อ รศ.112 (พ.ศ.2436)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ค่ายทหารฝรั่งเศส

ไปจันทบุรีมาเมื่อเดือนก่อน เพื่อไปเยี่ยมชมค่ายทหารฝรั่งเศส เมื่อสมัยมายึดครองจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ.2436 ซึ่งตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

ในครั้งกระนั้นเป็นยุคการล่าอาณานิคมหรือล่าเมืองขึ้น ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดอินโดจีน คือ ญวน เขมร และลาว จากนั้นก็จะเข้ามารุกรานประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีก โดยเข้ามายึดเมืองขวางซึ่งเป็นดินแดนของไทย แต่พระยอด เจ้าเมืองขวาง ไม่ยอมและได้ปกป้องอธิปไตยของไทย ด้วยการสู้รบกับทหารฝรั่งเศส ทำให้ทหารฝรั่งเศสบาดเจ็บล้มตาย

ด้วยเหตุนี้ฝรั่งเศสจึงใช้กรณีพิพาทกับพระยอด เมืองขวาง มารุกรานไทยด้วยการนำเรือรบ 3 ลำ เข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยาเพื่อปิดอ่าว เมื่อเรือรบทั้ง 3 ลำมาถึงป้อมผีเสื้อสมุทร (จ.สมุทรปราการ) ทหารไทยจึงยิง ทำให้เรือรบฝรั่งเศสเสียหาย

ฝรั่งเศสจึงถือโอกาสนี้เรียกร้องค่า เสียหายจากเรา โดยเราต้องยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสเป็นค่าทดแทนปฏิกรณ์สงคราม และถือโอกาสเข้ายึดครองจันทบุรีด้วย ในระหว่างการเจรจาเรียกค่าทดแทน ฝรั่งเศสก็ได้ตั้งค่ายที่จันทบุรีโดยปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน ที่พัก คลังอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ

การเจรจาก็ดำเนินไป แต่ฝรั่งเศสไม่ พอใจได้ไปยึดเมืองตราดอีก ทำให้เราต้องยอมยกดินแดนเกาะกงและบางส่วนในเขมรให้ฝรั่งเศสเพิ่มอีกนั่นแหละ การเจรจาจึงสงบลงได้ด้วยพระราชวิเทโศบายของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ยอมเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้ ตรงกับโวหารของไทยว่า "เสียน้อยดีกว่าเสียมาก"

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นความทรงจำที่เจ็บปวดที่สุดของคนไทยตราบจนทุกวันนี้ แม้คนไทยในสมัยนั้นที่กระด้างกระเดื่องกับทหารฝรั่งเศส ยังถูกจับไปขังคุกขี้ไก่ ที่ตั้งอยู่ที่ อ.แหลมสิงห์ เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ของทหารฝรั่งเศส ที่มีต่อคนไทยเป็นอย่างมาก ทุกวันนี้ใครที่ได้ไปดูคุกขี้ไก่ ยังเศร้าใจแค้นใจไม่หาย ที่ทหารฝรั่งเศส ทรมานคนไทยด้วยการขังไว้ด้านล่าง ส่วนด้านบนเลี้ยงไก่ เวลามันขี้ลงมาก็ต้องคอยหลบ ไหนจะเหม็นขี้ไก่ ไหนต้องหลบไม่ให้โดนหัว ไหนจะสกปรกโสโครก สาหัสเหลือเกิน

ค่ายทหารฝรั่งเศสแห่งนี้ ต่อมาตำรวจตระเวนชายแดนได้เคยเข้ามาใช้อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งหน่วยนาวิกโยธิน มาตั้งกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด จึงใช้ค่ายแห่งนี้เป็นที่ตั้งและได้ก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้น แต่ยังคงสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ของฝรั่งเศสเอาไว้ครบทุกหลัง แต่ละหลังได้ก่อสร้างตามแบบ สถาปัตยกรรมของยุโรป คือ ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ ตัวอาคารเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีลวดลาย มีช่องระบายลม บางอาคารยกพื้นสูง บางอาคารมีห้องใต้ดิน สันนิษฐานว่าเป็นห้องใช้เก็บไวน์ แต่เดิมมีอาคารต่างๆ ดังนี้

- อาคารกองบัญชาการทหารฝรั่งเศส
- อาคารคลังพัสดุ
- อาคารที่พักทหารรักษาการณ์
- อาคารที่คุมขังทหารฝรั่งเศส
- อาคารคลังกระสุนดินดำ
- อาคารกองรักษาการณ์

อาคารที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งหมด ได้รับการดูแลตามแบบทหาร บางอาคารก็ชำรุดเสียหายไปบ้างตามสภาพ แต่ขณะนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริ ให้รักษาร่องรอยประวัติศาสตร์เอาไว้ให้หมดอย่างสมบูรณ์ โดยให้กรมศิลปากรเข้ามาบูรณะซ่อมแซมให้เหมือนเดิม เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อย่างชัดเจน

จึงได้ติดต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี คุณพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล เพื่อนำเรื่องราวของค่ายทหารฝรั่งเศสแห่งนี้ มาให้ได้รู้จักกัน เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อกรมศิลปากรบูรณะสิ่งก่อสร้างฝรั่งเศสทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว จ.จันทบุรีก็จะมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 แห่ง รับรองว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งชาวฝรั่งเศสและคนไทยได้เป็นอย่างดี

แหวนแต่งงาน....สัญลักษณ์แห่งรักอมตะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Vein of Love

คราวนี้เราจะมากล่าวถึงเครื่องประดับชิ้นสำคัญในพิธีแต่งงาน ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ เหตุใดจึงใช้แหวนแทนคุณค่าทางใจในวันสำคัญ เนื่องจากแหวนมีลักษณะเป็นวงกลม ซึ่งแสดงความไม่มีสิ้นสุด สัญลักษณ์แห่งความเป็นนิรันดร์ จึงเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงว่าความรักที่มีให้กันนั้นจะไม่มีวันสิ้นสุดค่ะ

ที่มาของการเลือกให้นิ้วนางข้างซ้ายเป็นนิ้วสำหรับแหวนแต่งงาน เกิดขึ้นเพราะคนเชื่อว่านิ้วนางข้างซ้ายนั้นมีเส้นเลือดเชื่อมต่อตรงไปถึงหัวใจ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างมือและหัวใจ จึงมีการตั้งชื่อเส้นเลือดดังกล่าวว่า Vena Amori อันเป็นภาษาละตินซึ่งมีหมายความว่า "เส้นเลือดแห่งความรัก" (Vein of Love) ตามความเชื่อดังกล่าว ผู้คนจึงนิยมให้สวมแหวนแต่งงานบนนิ้วนางข้างซ้าย และการสวมแหวนแต่งงานในนิ้วนางข้างซ้ายนี้เอง เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า คู่แต่งงานได้ประกาศมอบความรักนิรันดรให้แก่กันและกัน จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้

ชนกลุ่มแรกที่เริ่มใช้แหวนแต่งงาน คือ ชาวอียิปต์ โดยปรากฏหลักฐานจากอักษรภาพที่แสดงความหมายของวงกลม ซึ่งหมายถึง ความเป็นนิรันดร์ และแหวนแต่งงานก็คือ ความหมายแห่งรักแท้ที่จะอมตะนิรันดรสืบไปตราบจนชั่วฟ้าดินสลาย

ในสมัยกลางในยุโรป พิธีแต่งงานของชาวคริสต์จะมีการสวมแหวนแต่งงานเรียงกันมาตั้งแต่นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง ของมือข้างซ้าย เพื่อแสดงถึงหลักตรีเอกานุภาพของศาสนา อันได้แก่ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ก่อนที่ในเวลาต่อมา คู่สมรสจะสวมเพียงนิ้วนางข้างซ้ายเพียงนิ้วเดียว ซึ่งในประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ แหวนแต่งงานจะนิยมสวมบนนิ้วนางข้างซ้าย อย่างไรก็ตามในบางประเทศ เช่น เยอรมนี และชิลี แหวนแต่งงานจะถูกใช้สวมบนนิ้วนางข้างขวาแทน ชาวคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์ พวกยุโรปตะวันออกและชาวยิวมีธรรมเนียมการสวมแหวนแต่งงานข้างขวาเช่นกัน ขณะในเนเธอร์แลนด์ และกลุ่มชาวคริสต์นิกายคาทอลิก จะสวมแหวนแสดงความรักนี้บนนิ้วนางข้างซ้าย

บ้างก็ใช้แบบแหวนเกลี้ยงเรียบๆ เพื่อแสดงถึงความไม่สิ้นสุดแห่งความรัก โดยบางครั้งอาจจะเป็นแหวนทองเรียบๆ หรือแหวนทองคำผสมกับทองคำขาว สำหรับแหวนอีกประเภทหนึ่งคือแหวนครบรอบแต่งงาน Anniversary Ring จะใช้แหวนประดับเพชร 3 เม็ด Trinity Ring ซึ่งแทนความหมายถึง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยมักจะกำหนดน้ำหนักของเพชรให้ทั้ง 3 เม็ด มีน้ำหนักรวมกันเท่ากับ 1 กะรัต พอดี