คนที่มีเทพจรลงเท้า อยู่กับที่ทางไหนนานๆ ไม่ได้ มันต้องให้รุ่มร้อน จนต้องเดินทางไปตามที่ต่างๆ วนเวียนกันไปไม่รู้จบ บางครั้งก็ถือโอกาสวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ท่องเที่ยวไปตามชุมชนเก่าแก่ ตลาดน้ำโบราณที่ยังสืบทอดวิถีชีวิต จารีตประเพณีไว้อย่างเหนียวแน่น เป็นสถานที่น่าท่องเที่ยวในวันหยุด
ในคราวนี้จึงขอชวนท่านมาเที่ยว ที่ตลาดเช้าของชุมชนโบราณที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 200 กิโลเมตร ใช้เส้นทางบางบัวทอง-สุพรรณบุรี กินเวลาชั่วโมงเศษก็จะ ถึงอำเภอวัดสิงห์ เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
อำเภอวัดสิงห์เป็นหนึ่งใน 8 อำเภอของจังหวัดชัยนาท ในอดีตอำเภอวัดสิงห์ เป็นแหล่งค้าขายใหญ่ที่สุดของจังหวัด มีท่าข้าว ท่าถ่าน ทำให้การค้าขายสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำท่าจีนที่มีจุดเริ่มต้น ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งมีรูปเหมือนหลวงปู่ศุข ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และยังเป็นอาจารย์ของเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ อีกด้วย
ใกล้ๆ กับอำเภอวัดสิงห์ไปทาง อำเภอหนองมะโมง มีชุมชนบ้านสะพานหิน บ้านกุดจอก มีการทอผ้าตามแบบดั้งเดิมของชาวบ้าน ซึ่งบรรพบุรุษเป็นชาวลาวเวียง ซึ่งอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากเวียงจันทน์ สมัยรัชกาลที่ 1 และได้นำเอาลวดลายการทอผ้าติดตัวเข้ามาแต่ครั้งกระนั้น การทอผ้าด้วยสีแดงสดใสประดับเชิงผ้า ด้วยลายตีนจกมาสวมใส่อย่างสวยงาม จึงเป็นความงดงามของชาวบ้านสะพานหินมาจนทุกวันนี้
ใกล้ๆ กับอำเภอวัดสิงห์ไปทาง อำเภอหนองมะโมง มีชุมชนบ้านสะพานหิน บ้านกุดจอก มีการทอผ้าตามแบบดั้งเดิมของชาวบ้าน ซึ่งบรรพบุรุษเป็นชาวลาวเวียง ซึ่งอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากเวียงจันทน์ สมัยรัชกาลที่ 1 และได้นำเอาลวดลายการทอผ้าติดตัวเข้ามาแต่ครั้งกระนั้น การทอผ้าด้วยสีแดงสดใสประดับเชิงผ้า ด้วยลายตีนจกมาสวมใส่อย่างสวยงาม จึงเป็นความงดงามของชาวบ้านสะพานหินมาจนทุกวันนี้
ด้านวัฒนธรรมทางอาหารการกิน ตลาดเช้าอำเภอวัดสิงห์มีของกินพื้นบ้าน ทั้งคาวหวานมาขายตั้งแต่เช้ามืดเป็นประจำ มีผู้มาฝากท้องไว้กับตลาดเช้ามากมายทุกครัวเรือน ในฐานะนักชิม จึงเป็นคนหนึ่งที่เป็นลูกค้าตลาดเช้าของอำเภอวัดสิงห์ มีข้าวแกงอร่อยหลายเจ้าให้เลือกรับประทาน หรือซื้อใส่ห่อกลับบ้าน มีอาหารชนิดหนึ่งเป็น แกงโบราณ คือ "แกงบวน" เป็นแกงเครื่องในหมู ตับ ไต ไส้ พุง ของหมูซึ่งชาวจีนนำหมูมาเลี้ยงในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อประมาณ 400 ปีก่อน ซึ่งคนไทย เพิ่งจะได้ลิ้มรสเนื้อหมูเป็นครั้งแรก แตกต่างกับอาหารไทย ซึ่งจะกินปลานานาชนิด นำมาแปรรูปเป็นเครื่องจิ้ม เป็นปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเจ่า เป็นต้น เครื่องจิ้มเหล่านี้ทำจากปลาในรูปแบบต่างๆ สมกับคำพังเพยของไทยว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เป็นอาหารหลักของไทยมาตั้งแต่โบราณกาล
ชาวอำเภอวัดสิงห์จะทำแกงบวนจำหน่ายในวันพระ ที่ตลาดเช้าเป็นประจำ แกงชนิดนี้ต้องอาศัยการล้างเครื่องในหมูให้สะอาดปราศจากกลิ่น ปรุงรสด้วยน้ำใบมะตูม คั้นใบขี้เหล็ก (ตามตำรับลาวเวียง) มีรสหวานนำ เค็มตาม ชื้นเครื่องในจิ้มพริกขี้หนูตำดองกับน้ำส้มสายชูและเกลือ ให้มีน้ำจิ้ม เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ซดน้ำแกงตามสวรรค์ ก็อยู่ในปากและลิ้นของเรานี่เอง
แกงบวนของวัดสิงห์ จะหากินได้ทุกวันพระในตลาดเช้า อำเภอวัดสิงห์เท่านั้น ถ้าไม่ใช่วันพระ หาทั่วตลาดก็ไม่ได้กินจะบอกให้
การไปเที่ยวตลาดเช้าอำเภอวัดสิงห์นั้น ท่านจะต้องไปตลาดเช้าอย่าให้เกิน 6 โมงเช้า มิฉะนั้นท่านจะพบแต่ตลาดสายหยุด ประมาณ 7 โมงเช้าตลาดก็จะเริ่มวายแล้ว ทางที่ดีถ้าท่านไม่มีพรรคพวกที่มีบ้านอยู่วัดสิงห์ ท่านจะต้องออกเดินทางแต่เช้ามืด ในตลาดจะมีชาวบ้านนำพืชผักสวนครัวมาขายเอง มีทั้งผักบุ้ง หน่อไม้ มะเขือ ถั่วฝักยาว รวมไปถึงหมู เนื้อ และปลานานาชนิดจากแม่นํ้า
การไปเที่ยวตลาดเช้าอำเภอวัดสิงห์นั้น ท่านจะต้องไปตลาดเช้าอย่าให้เกิน 6 โมงเช้า มิฉะนั้นท่านจะพบแต่ตลาดสายหยุด ประมาณ 7 โมงเช้าตลาดก็จะเริ่มวายแล้ว ทางที่ดีถ้าท่านไม่มีพรรคพวกที่มีบ้านอยู่วัดสิงห์ ท่านจะต้องออกเดินทางแต่เช้ามืด ในตลาดจะมีชาวบ้านนำพืชผักสวนครัวมาขายเอง มีทั้งผักบุ้ง หน่อไม้ มะเขือ ถั่วฝักยาว รวมไปถึงหมู เนื้อ และปลานานาชนิดจากแม่นํ้า
มีทางแก้สำหรับคนที่ไม่มีพรรคพวกเป็นคนวัดสิงห์ก็คือ หาที่นอนใกล้ตลาดเช้าวัดสิงห์ ซึ่งจะไปนอนที่ พญาไม้ รีสอร์ท ของทันตแพทย์กฤตผล พรพิบูลย์ บนเกาะเทโพ ที่เป็นรีสอร์ต 4 ดาว ร่มรื่นด้วยแมกไม้ริมแม่น้ำสะแกกรัง นอนหลับสบายท่ามกลางธรรมชาติ ตื่นเช้ามืดเดินทางมาตลาดเช้าอำเภอวัดสิงห์ที่อยู่ห่างประมาณ 20 กิโลเมตร ทันเวลาตลาดเช้าอำเภอวัดสิงห์อย่างสบายๆ
ตอนบ่ายหาโอกาสไปเยี่ยม ชุมชนลาวเวียงที่บ้านสะพานหิน หาซื้อผ้าทอที่มีสีสวยสดงดงาม กลับมาตัดเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ที่ไม่มีใครเหมือนอีกด้วย
การท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ จะทำให้ท่านได้พบวิถีชีวิตของชุมชนโบราณ อาหารการกินที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้
การท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ จะทำให้ท่านได้พบวิถีชีวิตของชุมชนโบราณ อาหารการกินที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น