ปะด่อง-แม่ฮ่องสอน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปะด่อง-แม่ฮ่องสอน

กะเหรี่ยงคอยาว หรือปะด่อง ชนกลุ่มนี้เข้าสู่ประเทศไทยด้าน จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อราวปลายปีพ.ศ.2527 ในช่วงที่กองกำลังทหารพม่าทำการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยเผ่าคะยา บริเวณพรมแดนไทย-พม่า การสู้รบทำให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆ รวมทั้งชาวปะด่องจำนวนหนึ่ง อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่หมู่บ้านใหม่ในสอย 

ต่อมามีแนวคิดเรื่องการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว จึงเปิด “ศูนย์ท่องเที่ยวหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว” หลายแห่งใน จ.แม่ฮ่องสอน

พื้นที่ใน จ.แม่ฮ่อนสอน เป็นตะข็บชายแดนที่มีผู้คนต่างชาติ ต่างภาษาเดินทางไปมาหาสู่กันมาตั้งแต่ครั้งยังไม่มีเส้นพรมแดน หรือแม้แต่ในช่วงที่เจ้าอินทวิชยานนท์ ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังมีหลักฐานว่า บริเวณที่เป็นจังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบันคือหมู่บ้านของชาว “ไทยใหญ่” ซึ่งอพยพมาจาก “รัฐฉาน” ของพม่า

บริเวณดังกล่าวเป็นเขตที่เจ้าเมืองเชียงใหม่ ส่งเจ้านายไปจับช้างป่า เพื่อฝึกไว้ใช้งานต่างๆ เมื่อชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้น จึงมีการสถาปนาหมู่บ้านแถบนั้นเป็นเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งมาจากคำว่า “แม่ร่องสอน” ที่หมายถึงร่องน้ำอันเป็นสถานที่ฝึกสอน (ช้างป่า) นั่นเอง

ปล. สำหรับประเด็นชนกลุ่มน้อยนี้ บอกได้เลยว่า เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อเรื้อรังมานาน และยังไม่มีทีท่าจะจบลงโดยง่าย แม้ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ และสมควรที่จะได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น