ต่อมาเกิดเดือดร้อน ประชาชนป่วยเป็นโรคฝีดาษ “โรคห่า” ท้าวเซียงกู๋จึงนำลูกหลานอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ฝั่งซ้ายของห้วยขุหลุ โดยอาศัยหนองคอมเป็นที่ทำมาหากิน หนองคอมก็คือหนองขุหลุปัจจุบัน เนื่องจากคนสมัยนั้นเชื่อเรื่อง นิทานในวรรณคดี
ดังนั้น จึงเชื่อว่าหนองคอมก็คือหนองขุหลุ ตามนิทานในวรรณคดีท้าวคันธนาม (คันธกุมาร) ที่ได้ปราบยักษ์ขุมคำ ยักษ์ยอมแพ้จึงได้ถวายทองคำแด่ท้าวคันธนามพร้อมด้วยแม่แจ่ม
ทั้งหมดจึงพากันหาบทองคำมาถึงบ้าน (ปัจจุบันเป็นบ้านเกษม) และมาดูว่าแม่และลูกหาบได้คนละเท่าไหร่ (ตวงดูน้ำหนัก) ท้าวตันธนามหาบได้สามแสนสี่หมื่น แม่แจ่มเจ้าหาบได้สี่พัน ครั้นรอนแรมมาถึงหมู่บ้านระหว่างกลางทางสายคุขาดอีกเลยใช้วิธีคอนเอา ซึ่งหมู่บ้านที่สายคุขาดให้ชื่อว่า “บ้านคอนสาย” ปัจจุบันเป็น ต.คอนสาย
เมื่อเดินทางมาถึงหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบ้านขุหลุทุกวันนี้ ท้าวคันธนามได้สั่งให้ท้าวแก่เกวียนร้อยเล่มซึ่งเป็นคนรับใช้ไปตักน้ำ แล้วคุหลุดลงไปก้นบ่อคุทะลุ (คุรั่ว) ถูกน้ำพัดไปตามรูน้ำซึ่งเชื่อมต่อกับหนองคอม คุใบนั้นจึงไปโผล่ขึ้นที่กลางหนองคอมชาวบ้านจึงเรียกว่า “หนองขุหลุ”
ต่อมาท้าวเซียงกู๋ได้เอานามของคุหลูมาตั้งชื่อหมู่บ้าน เรียกว่า “บ้านคุหลู” นานวันไปเสียงกร่อนเพี้ยนเป็น “ขุหลุ” จึงเรียกว่าบ้านขุหลุ หนองขุหลุ ตราบเท่าทุกวันนี้
ทั้งหมดจึงพากันหาบทองคำมาถึงบ้าน (ปัจจุบันเป็นบ้านเกษม) และมาดูว่าแม่และลูกหาบได้คนละเท่าไหร่ (ตวงดูน้ำหนัก) ท้าวตันธนามหาบได้สามแสนสี่หมื่น แม่แจ่มเจ้าหาบได้สี่พัน ครั้นรอนแรมมาถึงหมู่บ้านระหว่างกลางทางสายคุขาดอีกเลยใช้วิธีคอนเอา ซึ่งหมู่บ้านที่สายคุขาดให้ชื่อว่า “บ้านคอนสาย” ปัจจุบันเป็น ต.คอนสาย
เมื่อเดินทางมาถึงหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบ้านขุหลุทุกวันนี้ ท้าวคันธนามได้สั่งให้ท้าวแก่เกวียนร้อยเล่มซึ่งเป็นคนรับใช้ไปตักน้ำ แล้วคุหลุดลงไปก้นบ่อคุทะลุ (คุรั่ว) ถูกน้ำพัดไปตามรูน้ำซึ่งเชื่อมต่อกับหนองคอม คุใบนั้นจึงไปโผล่ขึ้นที่กลางหนองคอมชาวบ้านจึงเรียกว่า “หนองขุหลุ”
ต่อมาท้าวเซียงกู๋ได้เอานามของคุหลูมาตั้งชื่อหมู่บ้าน เรียกว่า “บ้านคุหลู” นานวันไปเสียงกร่อนเพี้ยนเป็น “ขุหลุ” จึงเรียกว่าบ้านขุหลุ หนองขุหลุ ตราบเท่าทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น