มิวเซียมสยามมีนิทรรศการใหม่ทีไร เราก็อดตื่นเต้นไม่ได้ว่า คราวนี้จะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของไทยและเพื่อนบ้านในแง่มุมไหน
พอเห็นนิทรรศการ ‘พม่าระยะประชิด’ ที่จัดช่วง 15 มีนาคม – 31 กรกฎาคม 2559 เนื้อหาคือการสลายอคติฝังลึกของคนไทย ที่มีต่อคนพม่าผ่านคอนเซปต์เกสต์เฮาส์เอาใจวัยรุ่นชอบเที่ยว ก็ยิ่งอยากรู้ว่าจะมีอะไรสนุกๆ ให้เราเข้าไปเล่นกันบ้าง
คุณทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร นักจัดการความรู้อาวุโสจากมิวเซียมสยามจะเป็นคนเปิดประตู และพาเราเช็กอินนิทรรศการนี้ทุกซอกทุกมุม “ภารกิจของมิวเซียมสยาม คือ ทำความรู้จักเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ตุลาคมปีที่แล้วเราเปิดด้วยนิทรรศการ ‘ประสบการณ์หู สู่อาเซียน’ เสียงฉันเสียงเธอ เสียงของเรา ต่อมาก็ต้องเริ่มทำความรู้จักประเทศต่างๆ เราเลือกพม่าเพราะมีเรื่องราวเยอะ และเป็นประเทศที่ต้องเคลียร์กันมากที่สุด ซึ่งมิวเซียมสยามก็มีงานวิจัยที่ทำไว้อยู่แล้ว ว่าอคติที่คนไทยมีต่อคนพม่าจริงๆ แล้วเกิดจากอะไร แต่งานวิจัยมันไม่สนุก ก็ต้องเซอร์เวย์เพิ่มว่า คนพม่าในไทยเขาอยู่กันยังไง นั่งรถตู้ตามกลับไปดูบ้านเขาที่หงสาวดี เพราะอยากรู้ว่าแล้วครอบครัวเขาที่พม่าเป็นยังไง”
นิยามของคนพม่าที่ทันสมัยสุดคืออะไร
คำที่ถูกต้องจริงๆ คือแขกที่ได้รับเชิญ เพราะเราขอให้รัฐบาลพม่าส่งคนมาทำงานในไทย เมืองไทยก็เป็นบ้าน เราเลยเอาสองคำคือ Guest กับ House มารวมกันเป็นเกสต์เฮาส์ เป็นธีมที่น่าจะทำให้เกิดบรรยากาศสบายๆ พร้อมที่จะเรียนรู้แขกคนอื่น เหมือนเวลาเราไปพักเกสต์เฮาส์ จะฟังเพลงก็ต้องใส่หูฟังใช่ไหม มันต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เราก็ต้องปฏิบัติตัวแบบนี้กับคนพม่าในไทย
ก่อนจะได้ธีมเกสต์เฮาส์ มี 2 ธีมที่ล้มไปคือ งานวัด ซึ่งเราคิดต่อยอดด้วยว่าจะจัดงานกฐินไปที่พม่าจริงๆ เป็น Living Exhibition ให้คนได้มาเรียนรู้ มีส่วนร่วมมากกว่าแค่อ่านข้อมูล เราชอบกันมากแต่ต้องล้มไปเพราะเดี๋ยวนี้วัยรุ่นที่ไหนจะมาเดินงานวัดทำบุญล่ะ
อีกคอนเซปต์ที่คิดได้คือ ‘ตามทองไทยไปพม่า’ อิงกับประวัติศาสตร์ที่ถูกตอกย้ำว่าพม่าเผาอยุธยาแล้วเอาทองไปสร้างเจดีย์ชเวดากอง เราจะเล่นประเด็นนี้แต่ปรับความคิดใหม่ว่าทองใน พ.ศ. นี้คือคนพม่าเข้ามาทำงาน แล้วเก็บหอมรอมริบเงินทองกลับไปประเทศเขา ซึ่งก็ล้มเพราะแรงไปและเข้าใจยาก คนอาจคิดว่าต้องถือดาบเข้ามาดูนิทรรศการเรา
พอได้ธีมเกสต์เฮาส์แล้ว ในเรื่องการดีไซน์ เราลดรูปเกสต์เฮาส์ลงมา ไม่ได้เป็นแบบเรียลิสติก อย่างห้องเช่าสองกะที่คนพม่าเขาแบ่งกันอยู่ 2 ครอบครัวก็จัดแสดงเป็นห้องนอนจริงๆ ข้าวของในชีวิตประจำวันของชาวพม่า เช่น แป้งทานาคา ใบเกิดของเด็กก็ใส่ไว้ในล็อกเกอร์เหมือนที่มีในเกสต์เฮาส์ แต่จะมีที่เราอัญเชิญยอดฉัตรจากเจดีย์ทรงพม่าที่กาญจนบุรีมาประดิษฐาน ซึ่งหลุดจากธีมเกสต์เฮาส์ วิธีแก้ก็คือทำเหมือนว่าคนดูวาร์ปออกไปเลย
อคติที่เรามีต่อพม่าก็เหมือนกับเลนส์อะไรบางอย่างบังตาเราไว้ เราจะแจกคีย์การ์ดให้ผู้เข้าชมทุกคน ที่การ์ดจะมีฟิล์มสีแดงซ่อนอยู่ตลอด ส่วนจัดแสดงจะมีคำที่เราพิมพ์ด้วยสีเขียวซ้อนกับสีแดง ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะเห็นคำหนึ่ง แต่ถ้ามองผ่านฟิล์มสีแดงก็จะเห็นอีกคำที่เราซ่อนไว้ เช่น เห็นคำว่า ตักตวง คนพม่าเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากเมืองไทย แต่ถ้ามองผ่านฟิล์มนี้จริงๆ มันคือคำว่า ตามฝัน เห็นคำว่า ขัดสน แต่พอส่องแล้วกลายเป็นคำว่า สะสม ให้เห็นว่าเราลองมองชาวพม่าด้วยสายตาอีกมุมนึงดีไหม
เราคิดไว้ว่านิทรรศการต้องมีส่วนให้คนไทยกับคนพม่าได้พูดคุยทักทายกัน น้องนำชมนิทรรศการเลยเป็นคนพม่า เท่ากับว่าเราได้ประชิดกันตั้งแต่เดินเข้ามาแล้ว ซึ่งนิทรรศการเราไม่ได้มีเนื้อหาอะไรให้อ่านมาก อาจมีแบบเรียนพม่าวางไว้อยู่ ถ้าอยากรู้ว่ามันเป็นยังไงก็ลองเข้าไปถามน้องนำชมสิ
อีกส่วนที่เราตั้งใจคือผู้เข้าชมน่าจะมีได้มีส่วนร่วมทางสังคมกับชาวพม่าด้วย ที่วัดมหามัยมุณีจะมีพิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุณีกันทุกวันตอนตี 4 ทีนี้เราก็อยากให้ชาวไทยได้มีโอกาสร่วมพิธีนี้เหมือนกัน เลยเตรียมท่อนไม้ทานาคาให้ผู้เข้าชมร่วมกันฝนแป้งสะสมไว้ในโถ จบนิทรรศการก็จะส่งให้ทางสถานทูตพม่าไปใช้ในพิธีต่อไป
เราไม่อยากให้คนมาดูแล้วรู้สึกสงสารชีวิตคนพม่า เพราะเขาไม่ได้รู้สึกทุกข์ใจอะไรเลย อาจทำงานหนักแต่เขาก็อยู่กันได้ นิทรรศการนี้เลยตั้งใจชวนคนไทยมามองประวัติศาสตร์รอบด้านมากขึ้น เพราะประวัติศาสตร์ก็เป็นแค่พล็อตที่เขียนขึ้นมาเพื่อรับใช้อะไรบางอย่างในสมัยนั้น แต่เราหยิบมาเรียงลำดับใหม่ให้เนื้อหาตอบรับกับยุคสมัย เราไม่ได้พูดว่าจงลบอคติที่มีต่อคนพม่าไปเลยนะ เพราะเข้ามาดูนิทรรศการแค่ 20 นาทีคงทำไม่ได้ แต่เราให้ข้อมูลที่เขาอาจไม่เคยรู้มาก่อน ดูแล้วเราน่าจะรู้จักตัวเองมากขึ้น รู้จักชาวพม่ามากขึ้นด้วย
www.museumsiam.org
นิยามของคนพม่าที่ทันสมัยสุดคืออะไร
คำที่ถูกต้องจริงๆ คือแขกที่ได้รับเชิญ เพราะเราขอให้รัฐบาลพม่าส่งคนมาทำงานในไทย เมืองไทยก็เป็นบ้าน เราเลยเอาสองคำคือ Guest กับ House มารวมกันเป็นเกสต์เฮาส์ เป็นธีมที่น่าจะทำให้เกิดบรรยากาศสบายๆ พร้อมที่จะเรียนรู้แขกคนอื่น เหมือนเวลาเราไปพักเกสต์เฮาส์ จะฟังเพลงก็ต้องใส่หูฟังใช่ไหม มันต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เราก็ต้องปฏิบัติตัวแบบนี้กับคนพม่าในไทย
ก่อนจะได้ธีมเกสต์เฮาส์ มี 2 ธีมที่ล้มไปคือ งานวัด ซึ่งเราคิดต่อยอดด้วยว่าจะจัดงานกฐินไปที่พม่าจริงๆ เป็น Living Exhibition ให้คนได้มาเรียนรู้ มีส่วนร่วมมากกว่าแค่อ่านข้อมูล เราชอบกันมากแต่ต้องล้มไปเพราะเดี๋ยวนี้วัยรุ่นที่ไหนจะมาเดินงานวัดทำบุญล่ะ
อีกคอนเซปต์ที่คิดได้คือ ‘ตามทองไทยไปพม่า’ อิงกับประวัติศาสตร์ที่ถูกตอกย้ำว่าพม่าเผาอยุธยาแล้วเอาทองไปสร้างเจดีย์ชเวดากอง เราจะเล่นประเด็นนี้แต่ปรับความคิดใหม่ว่าทองใน พ.ศ. นี้คือคนพม่าเข้ามาทำงาน แล้วเก็บหอมรอมริบเงินทองกลับไปประเทศเขา ซึ่งก็ล้มเพราะแรงไปและเข้าใจยาก คนอาจคิดว่าต้องถือดาบเข้ามาดูนิทรรศการเรา
พอได้ธีมเกสต์เฮาส์แล้ว ในเรื่องการดีไซน์ เราลดรูปเกสต์เฮาส์ลงมา ไม่ได้เป็นแบบเรียลิสติก อย่างห้องเช่าสองกะที่คนพม่าเขาแบ่งกันอยู่ 2 ครอบครัวก็จัดแสดงเป็นห้องนอนจริงๆ ข้าวของในชีวิตประจำวันของชาวพม่า เช่น แป้งทานาคา ใบเกิดของเด็กก็ใส่ไว้ในล็อกเกอร์เหมือนที่มีในเกสต์เฮาส์ แต่จะมีที่เราอัญเชิญยอดฉัตรจากเจดีย์ทรงพม่าที่กาญจนบุรีมาประดิษฐาน ซึ่งหลุดจากธีมเกสต์เฮาส์ วิธีแก้ก็คือทำเหมือนว่าคนดูวาร์ปออกไปเลย
อคติที่เรามีต่อพม่าก็เหมือนกับเลนส์อะไรบางอย่างบังตาเราไว้ เราจะแจกคีย์การ์ดให้ผู้เข้าชมทุกคน ที่การ์ดจะมีฟิล์มสีแดงซ่อนอยู่ตลอด ส่วนจัดแสดงจะมีคำที่เราพิมพ์ด้วยสีเขียวซ้อนกับสีแดง ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะเห็นคำหนึ่ง แต่ถ้ามองผ่านฟิล์มสีแดงก็จะเห็นอีกคำที่เราซ่อนไว้ เช่น เห็นคำว่า ตักตวง คนพม่าเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากเมืองไทย แต่ถ้ามองผ่านฟิล์มนี้จริงๆ มันคือคำว่า ตามฝัน เห็นคำว่า ขัดสน แต่พอส่องแล้วกลายเป็นคำว่า สะสม ให้เห็นว่าเราลองมองชาวพม่าด้วยสายตาอีกมุมนึงดีไหม
เราคิดไว้ว่านิทรรศการต้องมีส่วนให้คนไทยกับคนพม่าได้พูดคุยทักทายกัน น้องนำชมนิทรรศการเลยเป็นคนพม่า เท่ากับว่าเราได้ประชิดกันตั้งแต่เดินเข้ามาแล้ว ซึ่งนิทรรศการเราไม่ได้มีเนื้อหาอะไรให้อ่านมาก อาจมีแบบเรียนพม่าวางไว้อยู่ ถ้าอยากรู้ว่ามันเป็นยังไงก็ลองเข้าไปถามน้องนำชมสิ
อีกส่วนที่เราตั้งใจคือผู้เข้าชมน่าจะมีได้มีส่วนร่วมทางสังคมกับชาวพม่าด้วย ที่วัดมหามัยมุณีจะมีพิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุณีกันทุกวันตอนตี 4 ทีนี้เราก็อยากให้ชาวไทยได้มีโอกาสร่วมพิธีนี้เหมือนกัน เลยเตรียมท่อนไม้ทานาคาให้ผู้เข้าชมร่วมกันฝนแป้งสะสมไว้ในโถ จบนิทรรศการก็จะส่งให้ทางสถานทูตพม่าไปใช้ในพิธีต่อไป
เราไม่อยากให้คนมาดูแล้วรู้สึกสงสารชีวิตคนพม่า เพราะเขาไม่ได้รู้สึกทุกข์ใจอะไรเลย อาจทำงานหนักแต่เขาก็อยู่กันได้ นิทรรศการนี้เลยตั้งใจชวนคนไทยมามองประวัติศาสตร์รอบด้านมากขึ้น เพราะประวัติศาสตร์ก็เป็นแค่พล็อตที่เขียนขึ้นมาเพื่อรับใช้อะไรบางอย่างในสมัยนั้น แต่เราหยิบมาเรียงลำดับใหม่ให้เนื้อหาตอบรับกับยุคสมัย เราไม่ได้พูดว่าจงลบอคติที่มีต่อคนพม่าไปเลยนะ เพราะเข้ามาดูนิทรรศการแค่ 20 นาทีคงทำไม่ได้ แต่เราให้ข้อมูลที่เขาอาจไม่เคยรู้มาก่อน ดูแล้วเราน่าจะรู้จักตัวเองมากขึ้น รู้จักชาวพม่ามากขึ้นด้วย
www.museumsiam.org