เมื่อ 80 กว่าปีที่แล้ว เชียงใหม่นับว่าเป็นดินแดนที่ห่างไกลและกันดาร แต่พระเจ้าลูกยาเธอของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระองค์ไปทรงงานหนักที่เมืองไกล ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง ซึ่งชาวเชียงใหม่เรียกพระองค์ท่านว่า “หมอเจ้าฟ้า”
หมอเจ้าฟ้าพระองค์นี้คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หรือสมเด็จพระราชบิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงจบการศึกษาด้านวิชาการทหารเรือ จากประเทศเยอรมนี และทรงรับราชการในกองทัพเรือไทย แต่ทรงสนพระทัยทางด้านการแพทย์ พระองค์จึงทรงเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และวิชาแพทยศาสตร์ โดยได้รับประกาศนียบัตรสาธารณสุข จากโรงเรียนสาธารณสุข ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเสตต์ และทรงได้รับปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
ตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทรงอยู่ในฐานะสามัญชนกับพระราชชนนี ในนามมิสเตอร์และมิสซิสมหิดล สงขลา ทรงบริจาคเงินช่วยเหลือนักศึกษาทั้งชาวไทย และชาวอเมริกัน และเม็กซิกันเป็นจำนวนมาก ทรงเหลือไว้ใช้จ่ายส่วนพระองค์แต่พอดี
เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย พระองค์ทรงทุ่มเททั้งกำลังพระวรกาย และพระราชทรัพย์เพื่อสนับสนุนวงการแพทย์ไทย พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อการก่อสร้างและทุนการศึกษาของนักเรียนแพทย์จำนวนมาก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการแพทย์ไทยเป็นอย่างมาก
ในปี พ.ศ.2467 นายแพทย์เอ็ดวิน ซีคอร์ท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ได้กราบทูลเชิญเสด็จเปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิคของคณะมิชชั่น ทรงตอบรับและทรงมีพระราชประสงค์เสด็จไปเชียงใหม่เป็นการส่วนพระองค์ โดยทรงใช้พระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เพราะทรงเกรงว่ารัฐบาลจะสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นในการจัดการรับรอง
ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2467 พระองค์เสด็จทำพิธีเปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ท่ามกลางชาวเชียงใหม่และชาวต่างประเทศที่มาชุมนุมกันอย่างคับคั่ง ทรงเห็นว่าโรงพยาบาลแมคคอร์มิคในเวลานั้น มีนายแพทย์ อี.ซี.คอร์ท เป็นนายแพทย์เพียงผู้เดียว ในปีต่อมาได้พระราชทานเงินอุดหนุนเป็นเวลาสี่ปีให้แก่นายแพทย์เฮนรี่ อาร์.โอ.ไบรอัน เพื่อมาร่วมทำงานที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
นอกจากนั้น ตรัสถามนายแพทย์ อี.ซี.คอร์ทว่า ถ้าทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจะยอมให้ทรงงานในโรงพยาบาลแมคคอร์มิคหรือไม่ ซึ่งนายแพทย์ อี.ซี.คอร์ทตอบรับพระกรุณาด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อทรงได้รับพระราชานุญาตแล้ว จึงเสด็จไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์จันทร์แดง เมธา หนึ่งในทีมแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนจากนายแพทย์ อี.ซี.คอร์ท ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า “รุ่งเช้า เวลาเจ็ดนาฬิกา ของวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2472 ชาวแมคคอร์มิคยืนคอยกันอยู่ มองไปยังบ้านหมอคอร์ทซึ่งอยู่ไม่ไกล ไม่เห็นมีทหาร ตำรวจ หรือองครักษ์ กองเกียรติยศ หรือผู้ติดตาม บ้านของหมอคอร์ทก็ยังเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พอถึงเวลาแปดนาฬิกา หมอคอร์ทเดินเข้าประตูโรงพยาบาล มีชายไทยคนหนึ่งเดินเคียงข้างมาด้วย ชายผู้นั้นสวมเสื้อราชปะแตนสีขาว ไม่มีเหรียญตราอะไรติดอกแม้แต่เหรียญเดียว สวมกางเกงฝรั่งสีขาว สวมหมวกบนศีรษะอย่างคนอังกฤษ เมื่อเดินเข้ามาถึงแถวที่ชาวแมคคอร์มิคยืนอยู่ หมอคอร์ท ก็บอกว่า “พระองค์ท่านเสด็จมาถึงเราแล้ว”
หลังจากนั้นพระองค์ก็เสด็จเข้าตึกผู้ป่วย พวกที่ติดตามไปด้วยคิดว่าพระองค์ท่านจะเพียงทอดพระเนตรหมอคอร์ทตรวจผู้ป่วย แต่พระองค์ท่านหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระองค์ท่านทรงล้วงกระเป๋าฉลองพระองค์หยิบหูฟังขึ้นมา แล้วทรงเปิดเสื้อผู้ป่วยอย่างคล่องแคล่ว ทรงเปิดหนังตาของผู้ป่วย ทอดพระเนตรที่ตาขาว พวกที่ติดตามมาหันมามองหน้ากันอย่างภาคภูมิใจเป็นอันมาก พระองค์ทรงเปิดท้องผู้ป่วย ทรงเคาะ และ รับสั่งกับหมอคอร์ทว่า “มาลาเรียที่นี่ชุกชุมเต็มทีนะ” หมอคอร์ทกราบทูลว่า ชุกชุมอย่างน่ากลัว ผู้ป่วยบางคนมีแผล ผู้ติดตามจะเปิดแผลผู้ป่วยให้ แต่พระองค์ท่านยื่นพระหัตถ์เปิดแผลด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงตรวจผู้ป่วยที่ตึกแล้ว ก็เป็นเวลาสิบนาฬิกา พระองค์ท่านเสด็จออกตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งอยู่อีกตึกหนึ่ง ผู้ป่วยที่นี่แต่งตัวสกปรกมอมแมม ไม่เหมือนผู้ป่วยที่กรุงเทพฯ บางคนบาดแผลมีกลิ่นแรง เด็กๆ ร้องเสียงดัง แต่พระองค์ท่านไม่ทรงรังเกียจแต่ประการใด”
พระราชจริยวัตรนี้เป็นที่ประทับใจนายแพทย์ อี.ซี. คอร์ท เป็นยิ่งนัก จึงได้บันทึกเรื่องราวกล่าวถึงพระองค์ว่า “พระองค์ท่านไม่ทรงปฏิบัติงานแพทย์อย่างนักสมัครเล่นบางคนคิด แต่ด้วยความสนพระทัยวิชาการอย่างแท้จริง และเห็นว่าทรงโปรดงานนี้เป็นอย่างยิ่ง”
พระองค์ทรงสนพระทัยผู้ป่วยอย่างจริงจัง ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางลำไส้ ก็จะส่งอุจจาระไปที่แล็บทันที เสด็จดูงานที่ห้องแล็บ ทรงกล้องจุลทรรศน์ และทรงรักษาผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง ในรายที่พระองค์สงสัยว่าเป็นวัณโรค พระองค์จะนำเสมหะไปย้อมสีเอง เพราะโรงพยาบาลยังไม่มีเครื่องเอกซเรย์ และเจ้าหน้าที่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญ
พระองค์เข้าร่วมผ่าตัดกับนายแพทย์คอร์ทเสมอ พระองค์ทรงสนพระทัยผู้ป่วยเด็กเป็นพิเศษ คราวหนึ่งขณะเสด็จเยี่ยมโรงเลี้ยงเด็กของโรงพยาบาล ทรงพบว่าหัวนมของขวดนมค่อนข้างใหญ่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ทรงให้เปลี่ยนให้มีขนาดที่เหมาะสม
ก่อนเสด็จบรรทม ทรงถือไฟฉายแล้วเสด็จไปตามเตียงของผู้ป่วย พร้อมกับสอบถามอาการแล้ว จึงเสด็จกลับบ้านนายแพทย์คอร์ท แม้กลางดึกก็ทรงลุกจากที่บรรทมมาดูคนไข้กับนายแพทย์คอร์ท และในวันที่นายแพทย์คอร์ทไม่อยู่ ตรัสสั่งให้พยาบาลตามพระองค์ได้ทุกเวลาหากมีคนไข้มาหา
มีคนไข้รายหนึ่งชื่อเด็กชายบุญยิ่ง ถูกปืนลั่นเข้าที่รักแร้ ลูกปืนฝังใน เสียเลือดมาก พระองค์ทรงผ่าตัดแขน และถ่ายเลือด ซึ่งเป็นการถ่ายเลือดครั้งแรกของโรงพยาบาล มีผู้รับอาสามากมาย พระองค์ทรงหาหมู่เลือดที่เข้ากันได้ และทรงเจาะพระโลหิตของพระองค์ตรวจหาด้วย แต่ในสมัยนั้นยังไม่มียาปฏิชีวนะที่มีคุณภาพ เด็กคนนั้นเสียชีวิตเพราะกระแสโลหิตเป็นพิษ พระองค์ทรงเฝ้าดูจนวาระสุดท้ายของเด็กนั้น พระเมตตาของหมอเจ้าฟ้า เป็นที่โจษขานไปทั่วทั้งเมืองเชียงใหม่
ที่ประทับของพระองค์คือ ห้องหนึ่งในตึกที่นายแพทย์คอร์ทพักอาศัย ไม่ได้มีมหาดเล็ก หรือทหารรับใช้แม้แต่คนเดียว ทรงเสวยแบบธรรมดา โดยภรรยาของนายแพทย์คอร์ทเป็นผู้ทำอาหารถวาย นายแพทย์คอร์ทเขียนถึงพระองค์ว่า “วันหนึ่งภรรยาของข้าพเจ้าทูลว่าถุงพระบาทขาด จะขอรับชุนถวาย ทรงยิ้มและรับสั่งว่าพระองค์ไม่เคยใช้ถุงแพง เพราะไม่มีเงินซื้อ ข้อนี้เป็นความจริงเพราะทรงใช้เงินช่วยผู้อื่นแทบทั้งหมด
เมื่อทรงได้รับพระราชานุญาตแล้ว จึงเสด็จไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์จันทร์แดง เมธา หนึ่งในทีมแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนจากนายแพทย์ อี.ซี.คอร์ท ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า “รุ่งเช้า เวลาเจ็ดนาฬิกา ของวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2472 ชาวแมคคอร์มิคยืนคอยกันอยู่ มองไปยังบ้านหมอคอร์ทซึ่งอยู่ไม่ไกล ไม่เห็นมีทหาร ตำรวจ หรือองครักษ์ กองเกียรติยศ หรือผู้ติดตาม บ้านของหมอคอร์ทก็ยังเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พอถึงเวลาแปดนาฬิกา หมอคอร์ทเดินเข้าประตูโรงพยาบาล มีชายไทยคนหนึ่งเดินเคียงข้างมาด้วย ชายผู้นั้นสวมเสื้อราชปะแตนสีขาว ไม่มีเหรียญตราอะไรติดอกแม้แต่เหรียญเดียว สวมกางเกงฝรั่งสีขาว สวมหมวกบนศีรษะอย่างคนอังกฤษ เมื่อเดินเข้ามาถึงแถวที่ชาวแมคคอร์มิคยืนอยู่ หมอคอร์ท ก็บอกว่า “พระองค์ท่านเสด็จมาถึงเราแล้ว”
หลังจากนั้นพระองค์ก็เสด็จเข้าตึกผู้ป่วย พวกที่ติดตามไปด้วยคิดว่าพระองค์ท่านจะเพียงทอดพระเนตรหมอคอร์ทตรวจผู้ป่วย แต่พระองค์ท่านหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระองค์ท่านทรงล้วงกระเป๋าฉลองพระองค์หยิบหูฟังขึ้นมา แล้วทรงเปิดเสื้อผู้ป่วยอย่างคล่องแคล่ว ทรงเปิดหนังตาของผู้ป่วย ทอดพระเนตรที่ตาขาว พวกที่ติดตามมาหันมามองหน้ากันอย่างภาคภูมิใจเป็นอันมาก พระองค์ทรงเปิดท้องผู้ป่วย ทรงเคาะ และ รับสั่งกับหมอคอร์ทว่า “มาลาเรียที่นี่ชุกชุมเต็มทีนะ” หมอคอร์ทกราบทูลว่า ชุกชุมอย่างน่ากลัว ผู้ป่วยบางคนมีแผล ผู้ติดตามจะเปิดแผลผู้ป่วยให้ แต่พระองค์ท่านยื่นพระหัตถ์เปิดแผลด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงตรวจผู้ป่วยที่ตึกแล้ว ก็เป็นเวลาสิบนาฬิกา พระองค์ท่านเสด็จออกตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งอยู่อีกตึกหนึ่ง ผู้ป่วยที่นี่แต่งตัวสกปรกมอมแมม ไม่เหมือนผู้ป่วยที่กรุงเทพฯ บางคนบาดแผลมีกลิ่นแรง เด็กๆ ร้องเสียงดัง แต่พระองค์ท่านไม่ทรงรังเกียจแต่ประการใด”
พระราชจริยวัตรนี้เป็นที่ประทับใจนายแพทย์ อี.ซี. คอร์ท เป็นยิ่งนัก จึงได้บันทึกเรื่องราวกล่าวถึงพระองค์ว่า “พระองค์ท่านไม่ทรงปฏิบัติงานแพทย์อย่างนักสมัครเล่นบางคนคิด แต่ด้วยความสนพระทัยวิชาการอย่างแท้จริง และเห็นว่าทรงโปรดงานนี้เป็นอย่างยิ่ง”
พระองค์ทรงสนพระทัยผู้ป่วยอย่างจริงจัง ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางลำไส้ ก็จะส่งอุจจาระไปที่แล็บทันที เสด็จดูงานที่ห้องแล็บ ทรงกล้องจุลทรรศน์ และทรงรักษาผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง ในรายที่พระองค์สงสัยว่าเป็นวัณโรค พระองค์จะนำเสมหะไปย้อมสีเอง เพราะโรงพยาบาลยังไม่มีเครื่องเอกซเรย์ และเจ้าหน้าที่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญ
พระองค์เข้าร่วมผ่าตัดกับนายแพทย์คอร์ทเสมอ พระองค์ทรงสนพระทัยผู้ป่วยเด็กเป็นพิเศษ คราวหนึ่งขณะเสด็จเยี่ยมโรงเลี้ยงเด็กของโรงพยาบาล ทรงพบว่าหัวนมของขวดนมค่อนข้างใหญ่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ทรงให้เปลี่ยนให้มีขนาดที่เหมาะสม
ก่อนเสด็จบรรทม ทรงถือไฟฉายแล้วเสด็จไปตามเตียงของผู้ป่วย พร้อมกับสอบถามอาการแล้ว จึงเสด็จกลับบ้านนายแพทย์คอร์ท แม้กลางดึกก็ทรงลุกจากที่บรรทมมาดูคนไข้กับนายแพทย์คอร์ท และในวันที่นายแพทย์คอร์ทไม่อยู่ ตรัสสั่งให้พยาบาลตามพระองค์ได้ทุกเวลาหากมีคนไข้มาหา
มีคนไข้รายหนึ่งชื่อเด็กชายบุญยิ่ง ถูกปืนลั่นเข้าที่รักแร้ ลูกปืนฝังใน เสียเลือดมาก พระองค์ทรงผ่าตัดแขน และถ่ายเลือด ซึ่งเป็นการถ่ายเลือดครั้งแรกของโรงพยาบาล มีผู้รับอาสามากมาย พระองค์ทรงหาหมู่เลือดที่เข้ากันได้ และทรงเจาะพระโลหิตของพระองค์ตรวจหาด้วย แต่ในสมัยนั้นยังไม่มียาปฏิชีวนะที่มีคุณภาพ เด็กคนนั้นเสียชีวิตเพราะกระแสโลหิตเป็นพิษ พระองค์ทรงเฝ้าดูจนวาระสุดท้ายของเด็กนั้น พระเมตตาของหมอเจ้าฟ้า เป็นที่โจษขานไปทั่วทั้งเมืองเชียงใหม่
ที่ประทับของพระองค์คือ ห้องหนึ่งในตึกที่นายแพทย์คอร์ทพักอาศัย ไม่ได้มีมหาดเล็ก หรือทหารรับใช้แม้แต่คนเดียว ทรงเสวยแบบธรรมดา โดยภรรยาของนายแพทย์คอร์ทเป็นผู้ทำอาหารถวาย นายแพทย์คอร์ทเขียนถึงพระองค์ว่า “วันหนึ่งภรรยาของข้าพเจ้าทูลว่าถุงพระบาทขาด จะขอรับชุนถวาย ทรงยิ้มและรับสั่งว่าพระองค์ไม่เคยใช้ถุงแพง เพราะไม่มีเงินซื้อ ข้อนี้เป็นความจริงเพราะทรงใช้เงินช่วยผู้อื่นแทบทั้งหมด
นอกจาก เสด็จมาทรงงาน พระองค์ยังพระราชทานเงิน 3,000 เหรียญสหรัฐฯ ให้กับโรงพยาบาลแมคคอร์มิค เพื่อซื้อเครื่องเอกซเรย์ ซึ่งนับเป็นเครื่องแรกที่มีใช้ในภูมิภาค”
พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำบ้านได้เพียงสามสัปดาห์ ก็ต้องเสด็จนิวัตพระนคร เพื่อร่วมในงานพระเมรุ สมเด็จพระปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังจากสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงแล้ว พระองค์ทรงมีพระอาการประชวร และสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472
แม้ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย แต่พระราชกรณียกิจและพระจริยวัตรอันงดงามของหมอเจ้าฟ้า ก็ยังเป็นที่เล่าขานไม่มีวันจบสิ้น
พิพิธภัณฑ์พระบรมราชชนก เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ ที่คนรุ่นหลังจะได้ใช้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตสืบต่อไป
พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำบ้านได้เพียงสามสัปดาห์ ก็ต้องเสด็จนิวัตพระนคร เพื่อร่วมในงานพระเมรุ สมเด็จพระปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังจากสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงแล้ว พระองค์ทรงมีพระอาการประชวร และสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472
แม้ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย แต่พระราชกรณียกิจและพระจริยวัตรอันงดงามของหมอเจ้าฟ้า ก็ยังเป็นที่เล่าขานไม่มีวันจบสิ้น
พิพิธภัณฑ์พระบรมราชชนก เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ ที่คนรุ่นหลังจะได้ใช้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตสืบต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น