ดินแดนที่เรียกขานกันว่า "เปียงหลวง" ชุมชนแห่งความหลากหลายติดแนวชายแดนไทย-พม่า ทางฟากฝั่งตะวันตกของอำเภอเวียงแหง อำเภอเล็กๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ บนถนนโชตนาสายหลักจากเชียงใหม่-เชียงดาว ก่อนตัดแยกเมืองงาย เลี้ยวซ้ายไปตามทางตะวันตก ก่อนแยกทางแม่จา เส้นทางที่สัญจรไปก็เริ่มขึ้นสู่เนินเขาสูง คดเคี้ยวไปตามดงป่าเขียวสดรกครึ้ม ผ่านป่าสน บางช่วงของถนนถึงกับไต่ไปบนยอดเขาจากลูกหนึ่งไปอีกลูกหนึ่ง ครั้นพอเข้าเขตอำเภอเวียงแหง ถนนกลับดิ่งลึกลงไปในความลาดต่ำลดเลี้ยวลงไป เมื่อมองลิบๆ ไกลออกไปเบื้องหน้า มองเห็นจุดเล็กๆ สีขาว กระจัดกระจายอยู่ในหุบเขา "นั่นละ เวียงแหง อำเภอที่ซุกซ่อนอยู่ในหุบเขา" หากมุ่งผ่านไปอีก 18 กิโลเมตร จนพบกับซุ้มประตูทางเข้าหมู่บ้านเปียงหลวง
เปียงหลวง มีความหลากหลายทั้งในเรื่องของคนพลเมือง วิถีการดำรงอยู่ วัฒนธรรมประเพณี รวมไปถึงความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีมานานนับหลายร้อยปี โดยที่โดดเด่นมากที่สุด ก็คือ เป็นชุมชนที่มีผู้คนหลายเชื้อชาติชนเผ่าอาศัยอยู่ร่วมกัน
คนส่วนใหญ่ของชุมชนบ้านเปียงหลวงนั้น อพยพมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า อีกทั้งกลุ่มผู้เข้ามาก่อตั้งชุมชนแห่งนี้ ต่างเคยเป็นทหารของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ และยังมีกลุ่มคนจีนตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกัน ตามประวัติศาสตร์บอกว่า คนจีนกลุ่มนี้เป็นอดีตทหารจีนคณะชาติ หรือก๊กมินตั๋ง
นอกจากนั้น มีชนเผ่าลีซอ ปะหล่อง และชาวไทยที่อาศัยอยู่ร่วมกันมานาน
เมื่อพูดถึงความเป็นมาของชาวไทใหญ่ หลายคนต่างยอมรับกันดีว่า ชนชาติไต หรือไทใหญ่ เป็นเชื้อชาติที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่มาก่อน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรส่วนใหญ่อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า และบางส่วนอยู่ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และอีกส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
เมื่อเอ่ยคำเรียกขานถึง ไทใหญ่ ในแต่ละพื้นที่จึงย่อมเรียกแตกต่างกัน
เมื่อพูดถึงความเป็นมาของชาวไทใหญ่ หลายคนต่างยอมรับกันดีว่า ชนชาติไต หรือไทใหญ่ เป็นเชื้อชาติที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่มาก่อน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรส่วนใหญ่อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า และบางส่วนอยู่ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และอีกส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
เมื่อเอ่ยคำเรียกขานถึง ไทใหญ่ ในแต่ละพื้นที่จึงย่อมเรียกแตกต่างกัน
คนจีนในยูนนาน เรียกชาวไทใหญ่ว่า "เซม"
คนพม่าเรียกชาวไทใหญ่ว่า "ชาน" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "สยาม" ต่อมาจึงกลายเพี้ยนเป็น "ฉาน" หรือที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Shan" และในที่สุด จึงเรียกแผ่นดินของคนไทใหญ่ว่า รัฐชาน หรือรัฐฉาน(Shan State) นับแต่นั้นมา
ในขณะที่คนไทยล้านนามักชอบเรียก ชาวไทใหญ่ว่า "เงี้ยว" แต่คนไทใหญ่ไม่ชอบเท่าใดนัก เพราะเป็นคำที่ส่อในเชิงดูหมิ่นดูแคลน
ในขณะที่คนไทยล้านนามักชอบเรียก ชาวไทใหญ่ว่า "เงี้ยว" แต่คนไทใหญ่ไม่ชอบเท่าใดนัก เพราะเป็นคำที่ส่อในเชิงดูหมิ่นดูแคลน
ครั้นเมื่อถามพี่น้องชาวไทใหญ่ พวกเขากลับเรียกตัวเองว่า "ไต"
"คำว่าชนชาติไทย-ไต เปรียบเหมือนคำว่า "ช้าง" ช้างมีขา มีหู มีงา มีงวง และหาง ชนชาติไทย-ไต ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทย คือไทยน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ไต คือ ไทใหญ่ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน" ชายชื้น คำแดงยอดไตย ได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านไทย-ไต เอาไว้อย่างน่าสนใจ
ทำไมเปียงหลวง จึงมีทั้งกลุ่มคนจีนและคนไทใหญ่ ถึงมาอยู่รวมกัน!?
"กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ ชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษา : หมู่บ้านเปียงหลวง" ของ "วันดี สันติวุฒิเมธี" ได้บันทึกไว้ว่า คนไทใหญ่นั้น มีเอกลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ก่อนที่ยุคล่าอาณานิคมจะเกิดขึ้น และอังกฤษได้เข้ามายึดและผนวกดินแดนรัฐฉาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่าเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งๆ ที่ชาวไทยใหญ่เคยปกครองตนเอง ด้วยระบบเจ้าฟ้า ประจำอยู่ในแต่ละเมืองต่างๆ ทั้งหมด 33 เมือง
หลายคนยังจดจำ กับบันทึกตอนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งการขอคืนเอกราช และในหนังสือ 12 กุมภาพันธ์ 1947 นายพลออง ซาน ได้เดินทางไปร่วมประชุมกับเจ้าฟ้าไทใหญ่ รวมทั้งตัวแทนชนชาติคะยาห์ คะฉิ่น มอญ และชิน ที่เมืองปางโหลง ตอนกลางของรัฐฉาน เพื่อลงนามขอเอกราชจากอังกฤษร่วมกัน ในสัญญาที่ชื่อว่า "ลิ่กห่มหมายปางโหลง" หรือ "สัญญาปางโหลง" ได้บันทึกเอาไว้ว่า "ชาวไทใหญ่และชนชาติอื่นๆ จะต้องอยู่ร่วมกันในสหภาพพม่าเป็นเวลา 10 ปี นับจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ หลังจากนั้นจึงมีสิทธิแยกตัวออกมาปกครองตนเอง"
ทว่า ระหว่างการประชุมร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1947 นายพลออง ซาน พร้อมด้วยนักการเมืองพม่าคนสำคัญ 5 คน ได้ถูกคนร้ายเข้าลอบยิงจนเสียชีวิต ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางพม่ากับชนกลุ่มน้อยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
เนื่องจากผู้นำพม่าคนใหม่ นำโดย อู นุ และเนวิน มีทัศนคติและนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยต่างจาก ออง ซาน อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ขณะที่ ออง ซาน พยายามเน้นความเท่าเทียมและผลักดันให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิตามสัญญาปางโหลง แต่อู นุ และ เนวิน กลับไม่ต้องการให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะสิทธิในการแยกตัวไปปกครองประเทศอิสระ เพราะนั่นหมายถึง รัฐบาลกลางพม่า จะต้องสูญเสียรายได้จากทรัพยากรในดินแดนชนกลุ่มน้อยอย่างมหาศาล การยอมให้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวออกไป จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำพม่าหลายคนไม่เห็นด้วย
เมื่อรัฐบาลทหารพม่า ไม่ยอมให้แยกตัวเป็นอิสระ สงครามความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า จึงเริ่มปะทุขึ้นมานับแต่นั้นเป็นต้นมา ในขณะไฟสงครามระหว่างไทใหญ่กับรัฐบาลพม่ายังไม่มอดดับ กลับมีกองพล 93 ของรัฐบาลจีนคณะชาติ หรือก๊กมินตั๋ง ได้ถอยร่นลงมาจากมณฑลยูนนาน ของประเทศจีน เข้ามาอยู่ในรัฐฉาน ของไทใหญ่ จนทำให้ทหารพม่าเข้ามาปราบปรามกองพล 93 กับกองกำลังกู้ชาติคะฉิ่น ซึ่งถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อพม่า ทำให้ชาวไทใหญ่ ต้องตกเป็นเหยื่อสงคราม การสู้รบทั้งสองฝ่าย บ้างถูกเกณฑ์ไปเป็นลูกหาบ และทำงานกลางสนามรบ จนทำให้ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
หลังสงครามระหว่างทหารจีนคณะชาติกับรัฐบาลพม่าสิ้นสุดลงในปี 2501 ไฟสงครามก็ปะทุอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลพม่าละเมิดข้อตกลงเดิม ไม่ยอมให้ชาวไทใหญ่แยกตัวออกมาปกครองตนเอง หลังจากที่อยู่ร่วมกันมาครบ 10 ปี
ปี พ.ศ.2501 เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ จึงได้รวบรวมพลคนไทใหญ่ และก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่" หนุ่มศึกหาญ" ขึ้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช เนื่องจาก รัฐบาลนายพลเนวิน ได้ฉีกสัญญาปางโหลงนั้นทิ้งไป
นั่นคือที่มาของประวัติของชุมชนเปียงหลวง หลังจากที่เจ้าน้อย ซอหยันต๊ะ ตั้งกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ขึ้นที่ สบจ็อด เมืองปั่น ในเขตรัฐฉาน ใกล้ๆ กับชายแดนบ้านเปียงหลวง หลังจากนั้นได้ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่บ้านเปียงหลวง โดยมีกองบัญชาการย่อยอยู่ทั้ง 40 จุด ตั้งแต่เขตชายแดนแม่ฮ่องสอน เปียงหลวง และดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ไปจนถึงชายแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ว่ากันว่า ประชากรของชุมชนบ้านเปียงหลวงในขณะนั้น มีเพียงพ่อค้าชาวไทใหญ่ที่เดินทางมาค้าขายระหว่างไทยกับรัฐฉาน เพียงสิบกว่าหลังคาเท่านั้น ต่อมา เมื่อมีกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่และชาวบ้านที่หนีภัยจากการสู้รบเข้ามา จึงมีประชากรเพิ่มมากขึ้น
ต่อมา ปี 2512 นายพลโมเฮง หรือเจ้ากอนเจิง หนึ่งในผู้นำไทใหญ่ได้รวมกลุ่มกับเจ้าน้อย ซอ
หยั่นต๊ะ จัดตั้งขบวนการกู้ชาติโดยใช้ชื่อว่า กองทัพสหพันธ์ปฏิวัติรัฐฉาน หรือ Shan United Revolution Army(SURA) โดยมีนายพลโม เฮง เป็นประธาน และเจ้าน้อย ซอหยั่นต๊ะ เป็นรองประธาน และใช้บ้านเปียงหลวงเป็นกองบัญชาการใหญ่ ดังนั้นประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเปียงหลวง จึงเป็นทหารและครอบครัวไทใหญ่นับตั้งแต่นั้นมา
"เมืองแห่งอิสรภาพของชาวไทใหญ่
ตามข้อตกลงปางโหลงมอบให้
สัญญากันไว้เป็นมั่นเหมาะ
แล้วกลับคำกันได้หรือไร
ใครทรยศก็รู้อยู่แก่ใจ
มิใช่เราไทใหญ่แน่นอน
ความจริงของเราย่อมประจักษ์
สัญญาปางโหลงที่ให้นั้น
จากไปพลันกับอองซานหรือไฉน..."
บทเพลง "ลิ่กห่มหมายปางโหลง" หรือ "สัญญาปางโหลง" ของ สายมาว นักร้องชื่อดังชาวไทใหญ่ สะท้อนแว่วมาในห้วงยามค่ำคืนนั้น ฟังแล้วช่างบาดลึกเข้าไปในจิตใจของคนไตทั่วไป โดยเฉพาะคนไตพลัดถิ่นที่จำต้องถอยร่นออกมาจากแผ่นดินเดิมของตน
ครั้งหนึ่ง สายมาว เคยถูกรัฐบาลทหารพม่าจับขังคุกนานกว่าสองปี หลังจากเขาเขียนและร้องเพลงบทนี้ บางห้วง มีท่วงทำนองแห่งความทุกข์ ความบ่นพ้อ น้อยใจ ในการวิถีการต่อสู้อันยาวนาน บางท่วงทำนองบทเพลง กลับถั่งท้นอุดมการณ์ มากล้นความหวัง
"คำว่าชนชาติไทย-ไต เปรียบเหมือนคำว่า "ช้าง" ช้างมีขา มีหู มีงา มีงวง และหาง ชนชาติไทย-ไต ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทย คือไทยน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ไต คือ ไทใหญ่ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน" ชายชื้น คำแดงยอดไตย ได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านไทย-ไต เอาไว้อย่างน่าสนใจ
ทำไมเปียงหลวง จึงมีทั้งกลุ่มคนจีนและคนไทใหญ่ ถึงมาอยู่รวมกัน!?
"กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ ชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษา : หมู่บ้านเปียงหลวง" ของ "วันดี สันติวุฒิเมธี" ได้บันทึกไว้ว่า คนไทใหญ่นั้น มีเอกลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ก่อนที่ยุคล่าอาณานิคมจะเกิดขึ้น และอังกฤษได้เข้ามายึดและผนวกดินแดนรัฐฉาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่าเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งๆ ที่ชาวไทยใหญ่เคยปกครองตนเอง ด้วยระบบเจ้าฟ้า ประจำอยู่ในแต่ละเมืองต่างๆ ทั้งหมด 33 เมือง
หลายคนยังจดจำ กับบันทึกตอนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งการขอคืนเอกราช และในหนังสือ 12 กุมภาพันธ์ 1947 นายพลออง ซาน ได้เดินทางไปร่วมประชุมกับเจ้าฟ้าไทใหญ่ รวมทั้งตัวแทนชนชาติคะยาห์ คะฉิ่น มอญ และชิน ที่เมืองปางโหลง ตอนกลางของรัฐฉาน เพื่อลงนามขอเอกราชจากอังกฤษร่วมกัน ในสัญญาที่ชื่อว่า "ลิ่กห่มหมายปางโหลง" หรือ "สัญญาปางโหลง" ได้บันทึกเอาไว้ว่า "ชาวไทใหญ่และชนชาติอื่นๆ จะต้องอยู่ร่วมกันในสหภาพพม่าเป็นเวลา 10 ปี นับจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ หลังจากนั้นจึงมีสิทธิแยกตัวออกมาปกครองตนเอง"
ทว่า ระหว่างการประชุมร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1947 นายพลออง ซาน พร้อมด้วยนักการเมืองพม่าคนสำคัญ 5 คน ได้ถูกคนร้ายเข้าลอบยิงจนเสียชีวิต ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางพม่ากับชนกลุ่มน้อยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
เนื่องจากผู้นำพม่าคนใหม่ นำโดย อู นุ และเนวิน มีทัศนคติและนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยต่างจาก ออง ซาน อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ขณะที่ ออง ซาน พยายามเน้นความเท่าเทียมและผลักดันให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิตามสัญญาปางโหลง แต่อู นุ และ เนวิน กลับไม่ต้องการให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะสิทธิในการแยกตัวไปปกครองประเทศอิสระ เพราะนั่นหมายถึง รัฐบาลกลางพม่า จะต้องสูญเสียรายได้จากทรัพยากรในดินแดนชนกลุ่มน้อยอย่างมหาศาล การยอมให้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวออกไป จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำพม่าหลายคนไม่เห็นด้วย
เมื่อรัฐบาลทหารพม่า ไม่ยอมให้แยกตัวเป็นอิสระ สงครามความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า จึงเริ่มปะทุขึ้นมานับแต่นั้นเป็นต้นมา ในขณะไฟสงครามระหว่างไทใหญ่กับรัฐบาลพม่ายังไม่มอดดับ กลับมีกองพล 93 ของรัฐบาลจีนคณะชาติ หรือก๊กมินตั๋ง ได้ถอยร่นลงมาจากมณฑลยูนนาน ของประเทศจีน เข้ามาอยู่ในรัฐฉาน ของไทใหญ่ จนทำให้ทหารพม่าเข้ามาปราบปรามกองพล 93 กับกองกำลังกู้ชาติคะฉิ่น ซึ่งถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อพม่า ทำให้ชาวไทใหญ่ ต้องตกเป็นเหยื่อสงคราม การสู้รบทั้งสองฝ่าย บ้างถูกเกณฑ์ไปเป็นลูกหาบ และทำงานกลางสนามรบ จนทำให้ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
หลังสงครามระหว่างทหารจีนคณะชาติกับรัฐบาลพม่าสิ้นสุดลงในปี 2501 ไฟสงครามก็ปะทุอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลพม่าละเมิดข้อตกลงเดิม ไม่ยอมให้ชาวไทใหญ่แยกตัวออกมาปกครองตนเอง หลังจากที่อยู่ร่วมกันมาครบ 10 ปี
ปี พ.ศ.2501 เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ จึงได้รวบรวมพลคนไทใหญ่ และก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่" หนุ่มศึกหาญ" ขึ้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช เนื่องจาก รัฐบาลนายพลเนวิน ได้ฉีกสัญญาปางโหลงนั้นทิ้งไป
นั่นคือที่มาของประวัติของชุมชนเปียงหลวง หลังจากที่เจ้าน้อย ซอหยันต๊ะ ตั้งกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ขึ้นที่ สบจ็อด เมืองปั่น ในเขตรัฐฉาน ใกล้ๆ กับชายแดนบ้านเปียงหลวง หลังจากนั้นได้ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่บ้านเปียงหลวง โดยมีกองบัญชาการย่อยอยู่ทั้ง 40 จุด ตั้งแต่เขตชายแดนแม่ฮ่องสอน เปียงหลวง และดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ไปจนถึงชายแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ว่ากันว่า ประชากรของชุมชนบ้านเปียงหลวงในขณะนั้น มีเพียงพ่อค้าชาวไทใหญ่ที่เดินทางมาค้าขายระหว่างไทยกับรัฐฉาน เพียงสิบกว่าหลังคาเท่านั้น ต่อมา เมื่อมีกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่และชาวบ้านที่หนีภัยจากการสู้รบเข้ามา จึงมีประชากรเพิ่มมากขึ้น
ต่อมา ปี 2512 นายพลโมเฮง หรือเจ้ากอนเจิง หนึ่งในผู้นำไทใหญ่ได้รวมกลุ่มกับเจ้าน้อย ซอ
หยั่นต๊ะ จัดตั้งขบวนการกู้ชาติโดยใช้ชื่อว่า กองทัพสหพันธ์ปฏิวัติรัฐฉาน หรือ Shan United Revolution Army(SURA) โดยมีนายพลโม เฮง เป็นประธาน และเจ้าน้อย ซอหยั่นต๊ะ เป็นรองประธาน และใช้บ้านเปียงหลวงเป็นกองบัญชาการใหญ่ ดังนั้นประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเปียงหลวง จึงเป็นทหารและครอบครัวไทใหญ่นับตั้งแต่นั้นมา
"เมืองแห่งอิสรภาพของชาวไทใหญ่
ตามข้อตกลงปางโหลงมอบให้
สัญญากันไว้เป็นมั่นเหมาะ
แล้วกลับคำกันได้หรือไร
ใครทรยศก็รู้อยู่แก่ใจ
มิใช่เราไทใหญ่แน่นอน
ความจริงของเราย่อมประจักษ์
สัญญาปางโหลงที่ให้นั้น
จากไปพลันกับอองซานหรือไฉน..."
บทเพลง "ลิ่กห่มหมายปางโหลง" หรือ "สัญญาปางโหลง" ของ สายมาว นักร้องชื่อดังชาวไทใหญ่ สะท้อนแว่วมาในห้วงยามค่ำคืนนั้น ฟังแล้วช่างบาดลึกเข้าไปในจิตใจของคนไตทั่วไป โดยเฉพาะคนไตพลัดถิ่นที่จำต้องถอยร่นออกมาจากแผ่นดินเดิมของตน
ครั้งหนึ่ง สายมาว เคยถูกรัฐบาลทหารพม่าจับขังคุกนานกว่าสองปี หลังจากเขาเขียนและร้องเพลงบทนี้ บางห้วง มีท่วงทำนองแห่งความทุกข์ ความบ่นพ้อ น้อยใจ ในการวิถีการต่อสู้อันยาวนาน บางท่วงทำนองบทเพลง กลับถั่งท้นอุดมการณ์ มากล้นความหวัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น