ส่วนตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตเขตฝ่ายในของพระราชวังบวรสถานมงคล ที่กลายมาเป็นโรงทหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
นอกจากประวัติที่มีมายาวนานแล้ว ความน่าสนใจของที่นี่คือ ความเก่งของสถาปนิกที่ปรับโรงทหาร 2 หลังให้เชื่อมต่อเป็นหลังคาเดียวกันเชื่อมด้วยหอคอย และต่อกันยาวถึง 4 อาคาร ภายใต้สถาปัตยกรรมสไตล์ Art Deco ที่สวยงาม
พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ที่ดูภายนอกเป็นตึกสามชั้นแบบตะวันตก แต่กลับมีความเป็นเรือนไทย ชั้นเดียวยกใต้ถุงสูง มีบันไดขึ้นเรือนจากภายนอก ซึ่งการผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตกกับสถาปัตยกรรมเมืองร้อนนี้ จึงเป็นสิ่งที่บอกวิวัฒนาการของวังหน้า และวิถีชีวิตของคนไทยที่ค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อย
บริเวณพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์แห่งนี้ ยังมีเก๋งนุกิจราชบริหาร เก๋งจีนที่โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความทันสมัยของเจ้านายในสมัยรัชกาลที่ 4 ยุคเปลี่ยนผ่านที่มีการผสานวัฒนธรรมไทย เข้ากับจีนและตะวันตกได้เป็นอย่างดี
ความสำคัญของวังหน้า
- วังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล มีความหมาย 2 อย่าง คือ สถานที่ (ที่ประทับของบุคคลที่มีสถานะสำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์) และบุคคล (ผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือที่เรียกว่า พระมหาอุปราช ในสมัยอยุธยา)
- วังหน้ามีพื้นที่ใหญ่มาก มีบทบาทสำคัญในการปกป้องเมือง
- สถาปัตยกรรมวังหน้าเป็นของสถาบันที่เป็นรองแต่เพียงสถาบันพระมหากษัตริย์ ในยุคของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 4) ซึ่งมีสถานะเป็นเหมือนพระมหากษัตริย์อีกพระองค์ งานสถาปัตยกรรมของวังหน้าในยุคนี้จึงแสดงฐานานุศักดิ์เหมือนในวังหลวง
- เมื่อบริบททางการเมืองการปกครองเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละรัชกาล เช่นเดียวสภาพสังคม ทำให้รูปแบบของอาคารและการใช้พื้นที่ของวังหน้าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
- วังหน้าไม่ได้มีพื้นที่เพียงแค่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่เราเห็นในปัจจุบันเท่านั้น แต่เคยมีพื้นที่ครอบคลุมถึงโรงละครแห่งชาติ ครึ่งหนึ่งของท้องสนามหลวง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหมด