เขื่อนศรีนครินทร์ หรือเขื่อนเจ้าเณร ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเจ้าเณร อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2523 เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงจากฐานราก 140 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร กว้าง 15 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำมากที่สุดในประเทศไทย คือ 419 ตารางกิโลเมตร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวบ้านมากมายหลายอย่าง เช่น ด้านการชลประทาน ทำให้พื้นที่การเกษตรลุ่มน้ำแม่กลองมีน้ำใช้อย่างสะดวกสบายกินพื้นที่กว่า 4,000 ล้านไร่ ช่วยปล่อยน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็มไม่ให้หนุนล้ำเข้ามาทำความเสียหายบริเวณปากน้ำแม่กลองในช่วงฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี ด้านการผลิตไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนได้ใช้อย่างเพียงพอตลอดปี ด้านการบรรเทาอุทกภัย สามารถกักเก็บน้ำที่หลากมาในฤดูฝนไว้ในอ่างเก็บน้ำได้เป็นจำนวนมาก ด้านคมนาคม ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือไปยังอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ด้านการประมง เขื่อนศรีนครินทร์เป็นอ่างน้ำขนาดใหญ่ ในการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มรายได้ในการหาปลาให้แก่ชาวบ้านแถบนั้น และสุดท้ายยังเป็น สถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนศรีนครินทร์นี้ เมื่อตอนเริ่มโครงการสำรวจและวางแผนก่อสร้างให้ชื่อว่า โครงการเขื่อนเจ้าเณร เพราะบริเวณที่ก่อสร้างเขื่อน ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเจ้าเณร ซึ่งเป็นช่องเขาที่แคบที่สุดที่พม่าใช้เป็นเส้นทางเดินทัพเข้ามาทำสงครามกับไทยในสมัยสงครามเก้าทัพ ช่องเขานี้คือ โป่งสะเดา พม่านำทัพแสนกว่าคนมาตั้งค่ายอยู่ที่นี่ พระองค์เจ้าขุนเณร นำทหารประมาณ 500 คน มาสกัดทัพพม่าตรงบริเวณนี้ แต่เนื่องจากทัพพม่ามีจำนวนมาก พระองค์เจ้าขุนเณร จึงคิดหากลยุทธ์การรบแบบใหม่ คือ การรบแบบกองโจร โดยนำทหารซุ่มโจมตีพม่าไม่ให้รู้ตัวฆ่าแล้วขโมยเสบียงอาหารมา แบบมึงมาข้ามุด มึงหยุดข้าตี มึงหนีข้าไล่ พม่าสู้ไม่ได้และไม่มีเสบียงจึงแตกพ่ายไม่เป็นชิ้นดี พระองค์เจ้าขุนเณร จึงได้ฉายาว่า “แม่ทัพกองโจร” เมื่อการสำรวจโครงการก่อสร้างเขื่อนเสร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานชื่อเขื่อนแห่งนี้ว่า “เขื่อนศรีนครินทร์”
การไปเที่ยวเขื่อนศรีนครินทร์ ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงเขื่อนศรีนครินทร์ ประมาณ 200 กิโลเมตร ถนนหนทางสะดวกสบาย ใช้เวลาเดินทางประมาณชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงแล้ว
เริ่มจากไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเขื่อนศรีนครินทร์ คือ พระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ที่ชาวเขื่อนเคารพนับถือ ตั้งอยู่บริเวณจุดชมวิวบนสันเขื่อน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมากราบไหว้ขอพร แล้วไปยืนถ่ายรูปบริเวณสันเขื่อน ที่สูงลิบลิ่วเห็นวิวอ่างเก็บน้ำและโรงไฟฟ้าอย่างชัดเจน
จากนั้นเราก็ไปที่สวนเวลารำลึก เพื่อชมนาฬิกาแดด ที่สร้างด้วยคอนกรีตเป็นรูปโค้งขนาดใหญ่ มีเข็มนาฬิกาอันใหญ่และเส้นรุ้งเส้นแวงแบ่งเวลา เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงลงมากระทบปลายเข็มนาฬิกา เงาจากปลายเข็มนาฬิกาจะทาบลงบนพื้นหน้าปัดบอกเวลา บอกเดือน และบอกฤดูกาลต่างๆ น่าอัศจรรย์จริงๆ ที่นอกจากจะบอกเวลาได้แล้ว ยังสามารถบอกเดือนและฤดูกาลได้ด้วย รอบๆ บริเวณจัดตกแต่งภูมิทัศน์สวยงาม เหมือนเดินอยู่ที่สวนในต่างประเทศ มีบ่อน้ำพุขนาดใหญ่และดอกไม้นานาชนิดให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปกันอย่างเพลิดเพลิน สำหรับคนที่ชอบกีฬาก็มีสนามกอล์ฟที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ให้อวดวงสวิงแข่งขันกัน
จากนั้นก็ได้เวลาล่องเรือชมอ่างเก็บน้ำ เป็นเรือยนต์ขนาดใหญ่จุได้ 50 คน ล่องชมบริเวณโดยรอบอ่างเก็บน้ำ ทำให้ได้รู้ว่าอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน คือ แหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน คุณประสพชัย เล่าว่า ในอ่างเก็บน้ำมีธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ทำการประมงหาปลาไปขาย ธุรกิจล่องเรือชมอ่าง และการสร้างเรือนแพของเอกชนที่มีมากมายหลายเจ้าเรียงรายจนนับไม่ถ้วน เกิดการจ้างแรงงานทำให้ชาวบ้านแถบนั้นมีอาชีพ โดยใช้ผลประโยชน์ร่วมกันกับเขื่อนแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ใช้เวลาชมวิวทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำประมาณชั่วโมงกว่าๆ ก็ได้เวลารับประทานอาหารกลางวัน พามากินส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ทอด ลาบ น้ำตก และปลาทอดจากเขื่อน ที่ร้านอาหารบริเวณสันเขื่อนซึ่งเป็นร้านค้าของสวัสดิการพนักงานเขื่อน จะด้วยความหิว หรือแม่ครัวฝีมือดีก็ไม่รู้ ทุกอย่างที่ส่งมาให้กินอร่อยหมด โดยเฉพาะไก่ทอดร้อนๆ ที่กรอบนอกนุ่มใน อร่อยจนฝันถึง
จากนั้นก็ได้เวลาล่องเรือชมอ่างเก็บน้ำ เป็นเรือยนต์ขนาดใหญ่จุได้ 50 คน ล่องชมบริเวณโดยรอบอ่างเก็บน้ำ ทำให้ได้รู้ว่าอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน คือ แหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน คุณประสพชัย เล่าว่า ในอ่างเก็บน้ำมีธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ทำการประมงหาปลาไปขาย ธุรกิจล่องเรือชมอ่าง และการสร้างเรือนแพของเอกชนที่มีมากมายหลายเจ้าเรียงรายจนนับไม่ถ้วน เกิดการจ้างแรงงานทำให้ชาวบ้านแถบนั้นมีอาชีพ โดยใช้ผลประโยชน์ร่วมกันกับเขื่อนแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ใช้เวลาชมวิวทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำประมาณชั่วโมงกว่าๆ ก็ได้เวลารับประทานอาหารกลางวัน พามากินส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ทอด ลาบ น้ำตก และปลาทอดจากเขื่อน ที่ร้านอาหารบริเวณสันเขื่อนซึ่งเป็นร้านค้าของสวัสดิการพนักงานเขื่อน จะด้วยความหิว หรือแม่ครัวฝีมือดีก็ไม่รู้ ทุกอย่างที่ส่งมาให้กินอร่อยหมด โดยเฉพาะไก่ทอดร้อนๆ ที่กรอบนอกนุ่มใน อร่อยจนฝันถึง
ช่วงบ่ายไปคลายร้อนด้วยการไปเที่ยวน้ำตกเอราวัณ น้ำตกขนาดใหญ่และสวยงาม มีทั้งหมด 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันไปและร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่าหลายชนิด ที่ได้ชื่อว่าน้ำตกเอราวัณ เพราะสายน้ำที่ไหลตกลงมาจากชั้นที่ 7 มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณที่มี 3 หัว น้ำตกแต่ละชั้นมีชื่อเรียกคล้องจองกันตั้งแต่ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 7 คือ ไหลคืนรัง วังมัจฉา ผาน้ำตก อกผีเสื้อ เบื่อไม่ลง ดงพฤกษา ภูผาเอราวัณ ใครอยากจะรู้ว่าแต่ละชั้นสวยงามขนาดไหนก็ปีนป่ายขึ้นไปชมได้ไม่ผิดกติกาใดๆ ทั้งสิ้น
แดดร่มลมตกถึงเวลาอาหารเย็น ห้องอาหารเรือนธารา อาหารเมนูชาวเขื่อนที่เป็นอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงส้มหน่อไม้ดองปลากดคัง ที่เป็นเอกลักษณ์อร่อยไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ใครมาถึงเขื่อนศรีนครินทร์แล้วไม่ได้กินถือว่ามาไม่ถึงนะจะบอกให้ เพราะกาญจนบุรีขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหน่อไม้ มีทั้งหน่อไม้รวกและหน่อไม้ไผ่ตง ที่หวานอร่อยที่สุด นำมาทำเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้ต้ม และหน่อไม้แห้ง
อาหารอื่นๆ ก็มี เมนูปลาจากเขื่อน เช่น ปลาทอดสมุนไพร ฉู่ฉี่ปลาคัง ปลาพุงแตก ปลาซอสมะขาม ปลาทอด แกงส้มผักหวานกุ้ง เต้าเจี้ยวหลน น้ำพริกลงเรือ ไก่รวนเค็ม อาหารทุกอย่างอร่อยตามตำรับถนัดศรีชวนชิม หลังจากรับประทานอาหารคาวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องตบท้ายด้วย ไอศกรีมหลากรสของอร่อยของที่นี่ อิ่มหนำสำราญแล้วก็กลับเข้าที่พัก ส่วนอาหารเช้าก็มีให้เลือกมากมายทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง หรือจะเป็นอาหารจานเดียวก็มีเช่นกัน
ก่อนกลับได้เข้าไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า ซึ่งมี คุณธัญญา ประเสริฐผล หัวหน้าแผนกเดินเครื่องและคณะเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ โดย คุณสุกิจ ยิ่งยง เป็นวิทยากรบรรยายความรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ให้เราฟังอย่างละเอียด โดยฝากให้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบว่า เขื่อนทุกเขื่อนที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นมีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างมหาศาล สมกับสโลแกนของ กฟผ. ที่กล่าวว่า “มุ่งมั่นและพัฒนา ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” ไม่ต้องกลัวว่าเขื่อนจะแตก เพราะก่อนที่จะสร้างเขื่อนได้มีการวิจัย สำรวจ และหาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบกับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการก่อสร้าง สามารถกักเก็บน้ำและรองรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้อย่างสบาย ไม่ต้องเป็นห่วงกังวลใดๆ ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก จนทำให้การมาท่องเที่ยวเขื่อนศรีนครินทร์ครั้งนี้ มีความสุข สนุกสนาน และได้รับความรู้
อาหารอื่นๆ ก็มี เมนูปลาจากเขื่อน เช่น ปลาทอดสมุนไพร ฉู่ฉี่ปลาคัง ปลาพุงแตก ปลาซอสมะขาม ปลาทอด แกงส้มผักหวานกุ้ง เต้าเจี้ยวหลน น้ำพริกลงเรือ ไก่รวนเค็ม อาหารทุกอย่างอร่อยตามตำรับถนัดศรีชวนชิม หลังจากรับประทานอาหารคาวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องตบท้ายด้วย ไอศกรีมหลากรสของอร่อยของที่นี่ อิ่มหนำสำราญแล้วก็กลับเข้าที่พัก ส่วนอาหารเช้าก็มีให้เลือกมากมายทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง หรือจะเป็นอาหารจานเดียวก็มีเช่นกัน
ก่อนกลับได้เข้าไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า ซึ่งมี คุณธัญญา ประเสริฐผล หัวหน้าแผนกเดินเครื่องและคณะเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ โดย คุณสุกิจ ยิ่งยง เป็นวิทยากรบรรยายความรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ให้เราฟังอย่างละเอียด โดยฝากให้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบว่า เขื่อนทุกเขื่อนที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นมีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างมหาศาล สมกับสโลแกนของ กฟผ. ที่กล่าวว่า “มุ่งมั่นและพัฒนา ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” ไม่ต้องกลัวว่าเขื่อนจะแตก เพราะก่อนที่จะสร้างเขื่อนได้มีการวิจัย สำรวจ และหาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบกับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการก่อสร้าง สามารถกักเก็บน้ำและรองรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้อย่างสบาย ไม่ต้องเป็นห่วงกังวลใดๆ ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก จนทำให้การมาท่องเที่ยวเขื่อนศรีนครินทร์ครั้งนี้ มีความสุข สนุกสนาน และได้รับความรู้