ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ตั้งอยู่บนที่ดินส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พื้นที่กว่า 14 ไร่ ใกล้เขื่อนขุนด่านปราการชล บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการศูนย์นิทรรศการการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อรวบรวมแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามโครงการว่า โครงการศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2545
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์ระบบแสง สี เสียง ซึ่งเป็นอาคารนิทรรศการจัดแสดงแนวคิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ การบริหารจัดการดิน การ บริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการป่า และการบริหารจัดการมนุษย์ เป็นการสรุปภาพรวมของพระราชกรณียกิจอันเป็นที่มาของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนพระราชกรณียกิจต่างๆ เป็นการปูพื้นก่อนที่จะไปชมของจริงในส่วนจัดแสดงภายนอกอาคาร
ด้านนอกเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต พื้นที่แปลงสาธิตแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ แบ่งส่วนการจัดแสดงโดยจำลองป่าและภูมิประเทศของประเทศไทยทั้งสี่ภาค
- ภาคเหนือ แสดงแนวคิดด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ภาคกลาง จัดแสดงเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่
- ภาคอีสาน เป็นเรื่องการส่งเสริมอาชีพ
- ภาคใต้ เรื่องพลังงานทดแทน
ในบริเวณนี้มีทางเดินโดยรอบให้เข้าไปศึกษาทดลองและเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นส่วนที่น่าสนใจเป็นอันมาก เช่น แปลงป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ป่า 3 อย่าง คือ ไม้ผล ไม้ฟืน ไม้ใช้สอย และประโยชน์ที่ 4 คือ มีป่าไม้ช่วยในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อม
ตามจุดต่างๆ นอกจากมีของจริงที่ทำไว้ให้ดูแล้ว จะมีป้ายบอกข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจ ให้อ่านแล้วได้ความรู้ สามารถนำกลับไปปฏิบัติตามได้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกรอบแปลงผัก มีประโยชน์คือ รากหญ้าแฝกช่วยให้ดินร่วนซุย รากหญ้าแฝกช่วยดูดความ ชื้นและเก็บกักปุ๋ย หลังจากนั้นตัดใบหญ้าแฝกลงห่มดินเป็นปุ๋ยได้ด้วย
การห่มดิน คือ การนำหญ้า ฟาง หรือใบไม้คลุมลงบนดิน มีประโยชน์คือช่วยเก็บรักษาความชื้น เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ ช่วยย่อยสิ่งต่างๆ ให้เป็นอาหารแก่พืช เมื่อเศษหญ้า ฟาง ใบไม้เปื่อยเน่า จะเป็นอาหารให้สัตว์หน้าดิน เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ แมลงแกลบ ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะช่วยกันพรวนดินและถ่ายมูลเป็นปุ๋ย เมื่อเปื่อยเน่ามากๆ จะกลายเป็นฮิวมัสสะสมอยู่บนผิวดิน ซึ่งเป็นปุ๋ยชั้นเยี่ยมสำหรับพืช
การเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีการศึกษาทดลองครั้งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ขุดสระเก็บกักน้ำ ไว้ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำ และพืชต่างๆ ส่วนที่ 2 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ทำนาข้าว ปลูกข้าวในฤดูฝนไว้บริโภคในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดทั้งปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ ส่วนที่ 3 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชสวน พืชไร่ พืชสมุนไพร เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย ส่วนที่ 4 ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นที่อยู่อาศัยและโรงเรือนต่างๆ
แปลงทฤษฎีแก้มลิง แม่แบบการแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันในบ่อพักน้ำ จากนั้นจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง หรือผันไปใช้ในการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเปรียบเหมือนลิงเวลากินกล้วยจะเก็บไว้ที่แก้มหลายๆ ลูก แล้วค่อยๆ นำมาเคี้ยวกินภายหลัง
แปลงสาธิตโครงการแกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด เป็นการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน โดยทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน ทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุด แล้วจึงใช้น้ำชะล้างความเปรี้ยวและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
สำหรับคนที่สนใจเรื่องการทำอาหาร มีส่วนจัดแสดงที่เรียกว่า เส้นทางเครื่องแกง แสดงพืชที่นำมาประกอบเป็นเครื่องแกงชนิดต่างๆ ได้แก่ เครื่องแกงเผ็ด เครื่องต้มยำ เครื่องแกงส้ม ให้ได้เห็นของจริงกันเลยว่า เครื่องแกงแต่ละชนิดประกอบด้วยพืชชนิดใดบ้าง แม่ครัวสมัยใหม่บางคนอาจเคยใช้แต่เครื่องแกงสำเร็จรูป ไม่ได้ตำเครื่องแกงเอง หรือเห็นข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เฉพาะที่ถาดโฟมวางขายในซุปเปอร์มาร์เกต ถ้าไปที่นี่ก็จะได้เห็นต้นจริงๆ ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมทั้งได้รู้ถึงคุณประโยชน์ สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดด้วย
เรื่องพลังงานทดแทน แสดงวิธีการเผาถ่าน ทั้งถ่านจากไม้ยางพารา ไม้ผล และไม้ไผ่ ซึ่งถ่านไม้ที่ผ่านกรรมวิธีการเผาในอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียสนั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง เช่น ช่วยฟอกอากาศ ดูดกลิ่น ดูดความชื้น นำไปเป็นส่วนประกอบของแชมพู สบู่ ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก ใช้ผสมอาหารสัตว์ ช่วยเพิ่มแร่ธาตุ ดูดซับสารพิษ ใช้ผสมดินเพื่อการเพาะปลูก ช่วยปรับสภาพดิน เพิ่มแร่ธาตุที่พืชต้องการ
ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ มีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรธรรมชาติ ซึ่งทางศูนย์ฯ ผลิตขึ้นเอง เช่น น้ำส้มควันไม้ไล่แมลง สเปรย์ไล่ยุง โลชั่นทากันยุง
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก มุ่งหน้าไป เขื่อนขุนด่านปราการชล แล้วจะเห็นป้ายบอกทางไปศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งอยู่ใกล้ๆกันนั่นเอง
สำหรับผู้สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อนัดหมายล่วงหน้า เพื่อที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติจะได้เตรียมการสาธิตและฝึกอบรมต่างๆ ให้ เช่น การทำสบู่เหลวสมุนไพร การทำแชมพู การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำถ่านไม้ไผ่ การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำบ้านดิน
โดยติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปัญญา ปุลิเวคินทร์ ผู้ประสานงานศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จังหวัดนครนายก หมายเลขโทรศัพท์08-1964-5915, 08-6549-0918 และ 0-3738-4049
ในบริเวณนี้มีทางเดินโดยรอบให้เข้าไปศึกษาทดลองและเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นส่วนที่น่าสนใจเป็นอันมาก เช่น แปลงป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ป่า 3 อย่าง คือ ไม้ผล ไม้ฟืน ไม้ใช้สอย และประโยชน์ที่ 4 คือ มีป่าไม้ช่วยในการอนุรักษ์ดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อม
ตามจุดต่างๆ นอกจากมีของจริงที่ทำไว้ให้ดูแล้ว จะมีป้ายบอกข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจ ให้อ่านแล้วได้ความรู้ สามารถนำกลับไปปฏิบัติตามได้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกรอบแปลงผัก มีประโยชน์คือ รากหญ้าแฝกช่วยให้ดินร่วนซุย รากหญ้าแฝกช่วยดูดความ ชื้นและเก็บกักปุ๋ย หลังจากนั้นตัดใบหญ้าแฝกลงห่มดินเป็นปุ๋ยได้ด้วย
การห่มดิน คือ การนำหญ้า ฟาง หรือใบไม้คลุมลงบนดิน มีประโยชน์คือช่วยเก็บรักษาความชื้น เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ ช่วยย่อยสิ่งต่างๆ ให้เป็นอาหารแก่พืช เมื่อเศษหญ้า ฟาง ใบไม้เปื่อยเน่า จะเป็นอาหารให้สัตว์หน้าดิน เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ แมลงแกลบ ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะช่วยกันพรวนดินและถ่ายมูลเป็นปุ๋ย เมื่อเปื่อยเน่ามากๆ จะกลายเป็นฮิวมัสสะสมอยู่บนผิวดิน ซึ่งเป็นปุ๋ยชั้นเยี่ยมสำหรับพืช
การเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีการศึกษาทดลองครั้งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ขุดสระเก็บกักน้ำ ไว้ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำ และพืชต่างๆ ส่วนที่ 2 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ทำนาข้าว ปลูกข้าวในฤดูฝนไว้บริโภคในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดทั้งปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ ส่วนที่ 3 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชสวน พืชไร่ พืชสมุนไพร เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย ส่วนที่ 4 ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นที่อยู่อาศัยและโรงเรือนต่างๆ
แปลงทฤษฎีแก้มลิง แม่แบบการแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันในบ่อพักน้ำ จากนั้นจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง หรือผันไปใช้ในการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเปรียบเหมือนลิงเวลากินกล้วยจะเก็บไว้ที่แก้มหลายๆ ลูก แล้วค่อยๆ นำมาเคี้ยวกินภายหลัง
แปลงสาธิตโครงการแกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด เป็นการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน โดยทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน ทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุด แล้วจึงใช้น้ำชะล้างความเปรี้ยวและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
สำหรับคนที่สนใจเรื่องการทำอาหาร มีส่วนจัดแสดงที่เรียกว่า เส้นทางเครื่องแกง แสดงพืชที่นำมาประกอบเป็นเครื่องแกงชนิดต่างๆ ได้แก่ เครื่องแกงเผ็ด เครื่องต้มยำ เครื่องแกงส้ม ให้ได้เห็นของจริงกันเลยว่า เครื่องแกงแต่ละชนิดประกอบด้วยพืชชนิดใดบ้าง แม่ครัวสมัยใหม่บางคนอาจเคยใช้แต่เครื่องแกงสำเร็จรูป ไม่ได้ตำเครื่องแกงเอง หรือเห็นข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เฉพาะที่ถาดโฟมวางขายในซุปเปอร์มาร์เกต ถ้าไปที่นี่ก็จะได้เห็นต้นจริงๆ ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมทั้งได้รู้ถึงคุณประโยชน์ สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดด้วย
เรื่องพลังงานทดแทน แสดงวิธีการเผาถ่าน ทั้งถ่านจากไม้ยางพารา ไม้ผล และไม้ไผ่ ซึ่งถ่านไม้ที่ผ่านกรรมวิธีการเผาในอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียสนั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง เช่น ช่วยฟอกอากาศ ดูดกลิ่น ดูดความชื้น นำไปเป็นส่วนประกอบของแชมพู สบู่ ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก ใช้ผสมอาหารสัตว์ ช่วยเพิ่มแร่ธาตุ ดูดซับสารพิษ ใช้ผสมดินเพื่อการเพาะปลูก ช่วยปรับสภาพดิน เพิ่มแร่ธาตุที่พืชต้องการ
ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ มีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรธรรมชาติ ซึ่งทางศูนย์ฯ ผลิตขึ้นเอง เช่น น้ำส้มควันไม้ไล่แมลง สเปรย์ไล่ยุง โลชั่นทากันยุง
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก มุ่งหน้าไป เขื่อนขุนด่านปราการชล แล้วจะเห็นป้ายบอกทางไปศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งอยู่ใกล้ๆกันนั่นเอง
สำหรับผู้สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อนัดหมายล่วงหน้า เพื่อที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติจะได้เตรียมการสาธิตและฝึกอบรมต่างๆ ให้ เช่น การทำสบู่เหลวสมุนไพร การทำแชมพู การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำถ่านไม้ไผ่ การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำบ้านดิน
โดยติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปัญญา ปุลิเวคินทร์ ผู้ประสานงานศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จังหวัดนครนายก หมายเลขโทรศัพท์08-1964-5915, 08-6549-0918 และ 0-3738-4049