ป่าทามซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของลุ่มน้ำมูนตอนกลางในอีสานใต้ ที่มาของวัฒนธรรมการต้มเกลือแบบพื้นบ้านโบราณ
ป่าทามราษีไศล นอกจากมีพรรณพืช พันธุ์สัตว์มากมายแล้วยังเป็น แหล่งเกลือโบราณ โดยมีบ่อเกลือถึง 150 บ่อ กระจายอยู่ทั่วไปก่อนการสร้างเขื่อน การต้มเกลือเป็นเสมือนวิถีชีวิตส่วนหนึ่งของชาวบ้านที่นี่ ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย มีการใช้เกลือในการบริโภคในครัวเรือน ใช้แลกข้าว แลกข้าวของเครื่องใช้ แม้กระทั่งซื้อขายในปัจจุบัน
ภูมิปัญญาของคนต้มเกลือ ที่ราษีไศลไม่ใช่แค่การนำเกลือในดินขึ้นมาเท่านั้น แต่คือการรู้จักอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งถ่ายทอดมาสู่ลูกหลานให้รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เกลือยังขึ้นอ่อนอยู่ ถ้าดูที่หน้าดินจะเห็นเพียงบางๆ ต้องขึ้นลักษณะเป็นช่อ จึงสามารถต้มได้
"เกลือที่อื่นไม่เหมือนกัน มันไม่มีรสชาติ ถ้าเป็นเกลือต้มเอง โรยกินกับข้าวหุงร้อนๆ จะเค็มหอมรสชาติมันผิดกัน น้ำปลาไม่ต้องมีเลย"
นอกจากนี้ วัฒนธรรมเกลือยังสัมพันธ์กับวัฒนธรรมปลา เนื่องจากเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำปลาร้า อาหารยอดนิยมของชาวอีสาน
ขั้นตอนการต้มเกลือ เริ่มตั้งแต่ไปสำรวจดูบ่อเกลือที่เคยต้มว่า "ส่าเกลือ" ขึ้นมากพอที่จะต้มได้หรือไม่ โดยสังเกตดูว่า ถ้ามีลักษณะเป็นฟันปลาค้าว หรือเป็นแท่งคล้ายผงชูรส จะต้มได้เกลือมากและเกลือมีคุณภาพดี จากนั้นจึงขูดผิวดิน (บ่อเกลือไม่ได้มีลักษณะเหมือนบ่อน้ำ แต่เป็นพื้นดินที่มีเกลือ) หรือดินขี้ทามากองรวมกันไว้ แล้วคลุมด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อหมักให้ส่าเกลือที่ยังไม่แก่พอมีคุณภาพและให้ส่าเกลือแก่เสมอกัน
ก่อนต้มเกลือต้องผ่านขั้นตอนการหมักในรางหมัก ซึ่งเป็นรางดินแทนรางไม้ที่เคยใช้ในอดีต โดยขุดดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างยาวประมาณ 1 เมตร นำดินเหนียวย่ำให้ละเอียดราดลงบนรางดิน นำผ้าพลาสติกรองไว้อีกชั้นหนึ่ง ไม่ให้น้ำซึมออกและขุดดินให้ลึกต่ำกว่ารางหมัก แล้วนำท่อไม้ไผ่ทำเป็นท่อน้ำต่อออกจากรางดิน โดยการหมักต้องปิดท่อไว้ก่อน และนำเศษฟาง หรือเศษหญ้ามาวางทับรู พร้อมกับใช้เปลือกหอยปิดพอให้น้ำไหลสะดวก จากนั้นนำดินขี้ทาใส่ลงไปเหลือขอบปากหลุมไว้ 5-10 ซม. ตักน้ำใส่ทิ้งไว้ 1 คืนจึงเปิดท่อให้น้ำเกลือไหลลงภาชนะ
จากนั้น จะมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเกลือ ด้วยการนำครั่งมาต้ม หรือเผาให้ละลาย แล้วปั้นติดกับเชือกเมื่อนำไปหย่อนลงในถังน้ำเกลือ ถ้าครั่งลอยอยู่เหนือน้ำ แสดงว่ามีความเค็มมาก โดยน้ำกรองครั้งที่สามจะเริ่มมีความเค็มน้อยลง และสามารถใช้ไม้น้ำแดง หรือลูกสีดา (ฝรั่ง) มาตรวจสอบ โดยใช้วิธีเดียวกันได้ด้วย
การต้มเกลือจะใช้ไม้ฟืนจากป่าทามเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากอยู่บริเวณใกล้ แต่ปัจจุบันการยึดครองพื้นที่โดยไมยราบยักษ์ ได้ทำให้แหล่งไม้ฟืนหายไป โดยการต้มจะนำน้ำเกลือที่เค็มจัด และปานกลางผสมเข้าด้วยกัน ส่วนที่มีความเค็มน้อย จะใช้ในการหมักดินขี้ทาต่อไป ระหว่างการต้มให้ปล่อยทิ้งไ ว้ไม่ควรคนบ่อย เพราะจะทำให้ได้เกลือเม็ดเล็กจนเกินไป เมื่อน้ำงวดปล่อยทิ้งไว้จนเกลือตกผลึกสีขาว จากนั้นตักใส่ตะกร้าไม้ไผ่ ทิ้งให้แห้ง แล้วตักใส่ถุงปุ๋ย ซึ่งเกลือที่ต้มใหม่ สีจะขาวขุ่น เมื่อทิ้งไว้นานๆ จึงจะขาว
ซึ่งการต้มเกลือนั้น ต้องอาศัยทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และประสบการณ์ที่สั่งสมเรียนรู้จากการปฏิบัติมาจนเชี่ยวชาญ เป็นเหมือนวิถีชีวิตที่อยู่คู่กันมาของชุมชน
"เกลือที่ต้มเอง เมื่อใช้ทำปลาร้าจะทำให้มีกลิ่นหอม ไม่เหม็นอับ และยังทำให้เนื้อปลามีสีแดง แต่ถ้าใช้เกลือทะเล จะทำให้มีกลิ่นอับ รวมทั้งทำให้เนื้อปลาเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ"ฤดูกาลในการต้มเกลือของชาวบ้าน จะเริ่มขึ้นในช่วงมีนาคม เมื่อลมร้อนพัดผ่านมา โดยจะผ่านพ้นไปในเดือนพฤษภาคมก่อนฝนมาเยือน ซึ่งชาวบ้านใช้วิธีต้มเกลือแบบโบราณ โดยวัสดุต่างๆ ยังคงใช้วัสดุธรรมชาติ ที่หาได้จากป่าทาม มีเพียงหม้อต้มเกลือ ที่เปลี่ยนจากหม้อดินเผา มาเป็นหม้อที่ดัดแปลงมาจากปี๊บ เนื่องจากหาง่ายและให้ความร้อนเร็ว
ขั้นตอนการต้มเกลือ เริ่มตั้งแต่ไปสำรวจดูบ่อเกลือที่เคยต้มว่า "ส่าเกลือ" ขึ้นมากพอที่จะต้มได้หรือไม่ โดยสังเกตดูว่า ถ้ามีลักษณะเป็นฟันปลาค้าว หรือเป็นแท่งคล้ายผงชูรส จะต้มได้เกลือมากและเกลือมีคุณภาพดี จากนั้นจึงขูดผิวดิน (บ่อเกลือไม่ได้มีลักษณะเหมือนบ่อน้ำ แต่เป็นพื้นดินที่มีเกลือ) หรือดินขี้ทามากองรวมกันไว้ แล้วคลุมด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อหมักให้ส่าเกลือที่ยังไม่แก่พอมีคุณภาพและให้ส่าเกลือแก่เสมอกัน
ก่อนต้มเกลือต้องผ่านขั้นตอนการหมักในรางหมัก ซึ่งเป็นรางดินแทนรางไม้ที่เคยใช้ในอดีต โดยขุดดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างยาวประมาณ 1 เมตร นำดินเหนียวย่ำให้ละเอียดราดลงบนรางดิน นำผ้าพลาสติกรองไว้อีกชั้นหนึ่ง ไม่ให้น้ำซึมออกและขุดดินให้ลึกต่ำกว่ารางหมัก แล้วนำท่อไม้ไผ่ทำเป็นท่อน้ำต่อออกจากรางดิน โดยการหมักต้องปิดท่อไว้ก่อน และนำเศษฟาง หรือเศษหญ้ามาวางทับรู พร้อมกับใช้เปลือกหอยปิดพอให้น้ำไหลสะดวก จากนั้นนำดินขี้ทาใส่ลงไปเหลือขอบปากหลุมไว้ 5-10 ซม. ตักน้ำใส่ทิ้งไว้ 1 คืนจึงเปิดท่อให้น้ำเกลือไหลลงภาชนะ
จากนั้น จะมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเกลือ ด้วยการนำครั่งมาต้ม หรือเผาให้ละลาย แล้วปั้นติดกับเชือกเมื่อนำไปหย่อนลงในถังน้ำเกลือ ถ้าครั่งลอยอยู่เหนือน้ำ แสดงว่ามีความเค็มมาก โดยน้ำกรองครั้งที่สามจะเริ่มมีความเค็มน้อยลง และสามารถใช้ไม้น้ำแดง หรือลูกสีดา (ฝรั่ง) มาตรวจสอบ โดยใช้วิธีเดียวกันได้ด้วย
การต้มเกลือจะใช้ไม้ฟืนจากป่าทามเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากอยู่บริเวณใกล้ แต่ปัจจุบันการยึดครองพื้นที่โดยไมยราบยักษ์ ได้ทำให้แหล่งไม้ฟืนหายไป โดยการต้มจะนำน้ำเกลือที่เค็มจัด และปานกลางผสมเข้าด้วยกัน ส่วนที่มีความเค็มน้อย จะใช้ในการหมักดินขี้ทาต่อไป ระหว่างการต้มให้ปล่อยทิ้งไ ว้ไม่ควรคนบ่อย เพราะจะทำให้ได้เกลือเม็ดเล็กจนเกินไป เมื่อน้ำงวดปล่อยทิ้งไว้จนเกลือตกผลึกสีขาว จากนั้นตักใส่ตะกร้าไม้ไผ่ ทิ้งให้แห้ง แล้วตักใส่ถุงปุ๋ย ซึ่งเกลือที่ต้มใหม่ สีจะขาวขุ่น เมื่อทิ้งไว้นานๆ จึงจะขาว
ซึ่งการต้มเกลือนั้น ต้องอาศัยทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และประสบการณ์ที่สั่งสมเรียนรู้จากการปฏิบัติมาจนเชี่ยวชาญ เป็นเหมือนวิถีชีวิตที่อยู่คู่กันมาของชุมชน
นอกจากนี้ ยังมีพิธีกรรมความเชื่อ สำคัญที่ทำให้การต้มเกลือเป็นไปอย่างเพียงพอ และไม่รบกวนธรรมชาติมากจนเกินไป โดยก่อนที่จะมีการต้มเกลือ ชาวบ้านจะมีการบอกกล่าว พ่อเพียแม่เพีย ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ่อเกลือ เหมือนกับที่ชาวนาไหว้แม่โพสพนั่นเอง และหลังจากที่ต้มเกลือจนพอแล้วจะมีการปลูกเกลือ
โดยการนำเกลือใส่ถุงพลาสติก ไปฝังไว้ลึกประมาณ 1 คืบบริเวณบ่อเกลือ และบอกกับพ่อเพียแม่เพียเพื่อให้มีเกลือต้มอีกครั้ง ในฤดูกาลต้มเกลือในปีถัดไป ซึ่งมีความเชื่อว่า หากผู้ใดที่ปลูกเกลือแล้ว ยังกลับมาต้มอีกในฤดูกาลนั้น จะต้องมีอันเป็นไป
จะเห็นได้ว่าความเชื่อเหล่านี้ เป็นเหมือนสิ่งที่คอยควบคุมการต้มเกลือของชาวบ้านมาโดยตลอด ระยะเวลาอันยาวนาน นั่นแสดงให้เห็นว่า ตราบใดที่ความคิดความเชื่อยังคงอยู่กลับชุมชน วิกฤติการที่เคยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นการต้มเกลือแบบอุตสาหกรรม มีการสูบน้ำเกลือจากใต้ดิน จนทำให้เกิดแผ่นดินทรุดตัว หรือความขัดแย้งในกรณีเหมืองโปแตส ที่อุดรธานี ก็จะไม่เกิดขึ้นหากเราสามารถเรียนรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ในแบบที่ไม่ใช่ผู้ทำลาย แต่อยู่ร่วมอย่างรู้คุณเช่นเดียวกับคนต้มเกลือราษีไศล
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ข้อมูลจากวิจัยไทบ้านป่าทามราศีไศล
โดยการนำเกลือใส่ถุงพลาสติก ไปฝังไว้ลึกประมาณ 1 คืบบริเวณบ่อเกลือ และบอกกับพ่อเพียแม่เพียเพื่อให้มีเกลือต้มอีกครั้ง ในฤดูกาลต้มเกลือในปีถัดไป ซึ่งมีความเชื่อว่า หากผู้ใดที่ปลูกเกลือแล้ว ยังกลับมาต้มอีกในฤดูกาลนั้น จะต้องมีอันเป็นไป
จะเห็นได้ว่าความเชื่อเหล่านี้ เป็นเหมือนสิ่งที่คอยควบคุมการต้มเกลือของชาวบ้านมาโดยตลอด ระยะเวลาอันยาวนาน นั่นแสดงให้เห็นว่า ตราบใดที่ความคิดความเชื่อยังคงอยู่กลับชุมชน วิกฤติการที่เคยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นการต้มเกลือแบบอุตสาหกรรม มีการสูบน้ำเกลือจากใต้ดิน จนทำให้เกิดแผ่นดินทรุดตัว หรือความขัดแย้งในกรณีเหมืองโปแตส ที่อุดรธานี ก็จะไม่เกิดขึ้นหากเราสามารถเรียนรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ในแบบที่ไม่ใช่ผู้ทำลาย แต่อยู่ร่วมอย่างรู้คุณเช่นเดียวกับคนต้มเกลือราษีไศล
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ข้อมูลจากวิจัยไทบ้านป่าทามราศีไศล